Page 98 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 98
บทที่ ๒ ผลการด�าเนินงานประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
แก้ไขระเบียบส�านักงานต�ารวจแห่งชาติ ว่าด้วยประมวลระเบียบการต�ารวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ ๓๒ การพิมพ์ลายนิ้ว
มือ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๗ บทที่ ๔ การคัดแยกและท�าลายแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือ และรายการประวัติหรือบัญชี ประวัติ
ตามความเห็นของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
กรณีที่ ๑๘ สิทธิในกระบวนการยุติธรรม กรณีค�าร้องที่มีการกล่าวอ้างว่ามีการกระท�าทรมาน และ
การปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่ไร้มนุษยธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (รวม ๓๓ รายงาน)
ประเด็นค�าร้อง บทที่ ๒
ผู้ร้องจ�านวนมากได้ร้องเรียนต่อ กสม. เพื่อขอให้
ตรวจสอบกรณีกล่าวอ้างว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่
จังหวัดชายแดนภาคใต้กระท�าทรมาน ปฏิบัติ หรือลงโทษที่ไร้
มนุษยธรรม เช่น การควบคุมตัวเพื่อบังคับให้ยอมรับสารภาพ
แลกกับอิสรภาพ การท�าร้ายร่างกายหรือกระท�าทรมานขณะอยู่ใน
การควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ เช่น การใช้ถูกพลาสติกครอบศีรษะ
การเตะ ชกต่อย ทุบตี การขังในห้องมืด การสอบปากค�าอย่างต่อเนื่อง
เป็นเวลานาน การข่มขู่ การช็อตด้วยไฟฟ้า การไม่ได้รับอนุญาตให้
ปฏิบัติศาสนกิจในระหว่างถูกควบคุมตัว เป็นต้น
การด�าเนินการ
กสม. ได้เคยพิจารณาค�าร้องในลักษณะเดียวกันมาแล้ว ตามรายงานผลการตรวจสอบเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๓ และ
พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยได้เสนอมาตรการการแก้ไขปัญหาต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งหมด ๕ ด้าน กล่าวคือ
มาตรการด้านกฎหมาย ด้านสิทธิมนุษยชนศึกษา ด้านกลไกการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ด้านกระบวนการยุติธรรม และ
ด้านการเยียวยา พร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะนโยบายต่อรัฐบาลเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาด�าเนินการตาม
อ�านาจหน้าที่ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการกระท�าในลักษณะที่เป็นการทรมานหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็น
การสร้างเงื่อนไขที่จะน�าไปสู่การก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิใน
กระบวนการยุติธรรมของประชาชนตามที่ได้มีการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ
สิทธิทางการเมือง (ICCPR) อนุสัญญาการต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม
หรือที่ย�่ายีศักดิ์ศรี (CAT) ประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายพิจารณาความอาญา ดังนั้น คณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงมีข้อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายเพิ่มเติมต่อคณะรัฐมนตรีและ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
๑) ในระดับปฏิบัติ ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดถือมาตรการการแก้ไขปัญหาที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เคยเสนอไว้ตามรายงานฯ ที่ ๒๗๕ – ๓๐๘/๒๕๕๓ และรายงานฯ ที่ ๖๗ – ๘๙/๒๕๕๕ โดยเฉพาะมาตรการด้านกลไก
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและมาตรการด้านกระบวนการยุติธรรมอย่างเคร่งครัด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชนใน
พื้นที่และลดเงื่อนไขที่อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 97