Page 97 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 97

พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๘๔ วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนไว้แล้ว แต่ในทางปฏิบัติยังไม่มีหน่วยงานของ
           รัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บประวัติการกระท�าความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนแยกต่างหาก ส่งผลให้เด็กและ
           เยาวชนไม่ได้รับการคุ้มครองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย จึงเห็นสมควรให้มีการพิจารณาจัดท�าข้อเสนอแนะมาตรการหรือ
           แนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งข้อเสนอในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบหรือค�าสั่ง

           ใด ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน


                   การด�าเนินการ



                   คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นว่า ระเบียบส�านักงานต�ารวจแห่งชาติ ว่าด้วยประมวล
           ระเบียบการต�ารวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ ๓๒ การพิมพ์ลายนิ้วมือ พ.ศ. ๒๕๕๗ ข้อ ๔.๓ ไม่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติ
           ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่มุ่งคุ้มครองสิทธิของเด็กและเยาวชน
           โดยป้องกันมิให้มีการเปิดเผยประวัติการกระท�าผิดของเด็กและเยาวชนที่อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตอย่างปกติสุข คุ้มครอง

           เด็กและเยาวชนที่ถูกกล่าวหาว่ากระท�าความผิดอาญาหรือถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิด ให้ได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างไป
           จากผู้ต้องหาหรือจ�าเลยที่เป็นผู้ใหญ่ โดยให้ได้รับผลกระทบจากการต้องถูกด�าเนินคดีและควบคุมตัวน้อยที่สุด ส�าหรับเด็ก
           และเยาวชนที่มีปัญหาความประพฤติหรือกระท�าความผิดทางอาญา คุ้มครองให้ได้รับโอกาสแก้ไขให้สามารถเติบโตเป็น
           พลเมืองดีของสังคม โดยมีสมมติฐานว่าเด็กและเยาวชนกระท�าการใด ๆ เพราะขาดวุฒิภาวะ การรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ตลอด

           ทั้งสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลในการผลักดันความประพฤติของเด็ก ดังนั้น จึงควรที่จะให้ส�านักงานต�ารวจแห่งชาติแก้ไขเพิ่มเติม
           ระเบียบการต�ารวจฉบับดังกล่าว โดยก�าหนดให้มีการคัดแยกประวัติการกระท�าผิดของเด็กและเยาวชนและบัญชีทะเบียน
           ประวัติของเด็กและเยาวชนไว้หมวดใดหมวดหนึ่งโดยเฉพาะ แยกจากกรณีการกระท�าความผิดของบุคคลทั่วไป เพื่อให้
           สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และกฎอันเป็นมาตรฐานขั้นต�่าของสหประชาชาติว่าด้วยการบริหารงานยุติธรรม

           เกี่ยวกับคดีเด็กและเยาวชน (กฎแห่งกรุงปักกิ่ง) ตลอดทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง


                   มาตรการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน



                   ๑. ส�านักงานต�ารวจแห่งชาติควรพิจารณาบทบัญญัติเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลประวัติการกระท�าผิดของเด็ก
           และเยาวชน โดยแก้ไขระเบียบส�านักงานต�ารวจแห่งชาติ ว่าด้วยประมวลระเบียบการต�ารวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ ๓๒
           การพิมพ์ลายนิ้วมือ พ.ศ. ๒๕๕๗ (ฉบับที่ ๓) เพื่อก�าหนดเกี่ยวกับการคัดแยกประวัติการกระท�าผิดของเด็กและเยาวชนและ
           บัญชีทะเบียนประวัติของเด็กและเยาวชนไว้ในหมวดใดหมวดหนึ่งโดยเฉพาะ แยกจากกรณีการกระท�าความผิดของบุคคล

           ทั่วไป เพื่อให้มีความสอดคล้องกับกฎหมาย และเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิเด็กหรือเยาวชน


                   ๒. ส�านักงานต�ารวจแห่งชาติควรก�าชับหน่วยงานในสังกัดในเรื่องการพิจารณาอนุญาตให้เปิดเผยประวัติ
           อาชญากรรมของเด็กและเยาวชนนั้น จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดี

           เยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยค�านึงถึงสิทธิเด็กและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนเป็นส�าคัญ


                   ผลส�าเร็จ/ความก้าวหน้าในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน



                   กองทะเบียนประวัติอาชญากร ส�านักงานต�ารวจแห่งชาติได้มีหนังสือแจ้งความก้าวหน้าการด�าเนินการตามข้อ
           เสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  โดยแจ้งว่า ได้น�าข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริม
           และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เสนอต่อส�านักงานต�ารวจแห่งชาติเพื่อให้ส�านักงานพิสูจน์หลักฐานต�ารวจพิจารณาเสนอขอ



            96  |  รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102