Page 28 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 28

บทสรุปเชิงผู้บริหาร




            ว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม จากเดิมให้คนพิการที่เข้าระบบการจ้างงานต้อง
            ใช้สิทธิประกันสังคม แก้ไขเป็นให้สามารถเลือกได้ว่าจะใช้ระบบประกันสังคมหรือระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อให้   บทสรุป
            เกิดประโยชน์ต่อคนพิการมากที่สุด


            กลุ่มชาติพันธุ์ ชนพื้นเมือง คนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ และประชากรข้ามชาติ



                  สังคมไทยมีความเป็นพหุลักษณ์ มีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า ๕๖ กลุ่ม โดยบางกลุ่มอยู่ในประเทศไทยมานานหลาย
            ชั่วอายุคน ในขณะที่รัฐบาลได้พยายามส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มดังกล่าวโดยการตราและพัฒนากฎหมาย

            และนโยบายให้สอดคล้องกันเพื่อแก้ไขปัญหาการไร้รัฐ ไร้สัญชาติใน ๔ ส่วนหลัก คือ (๑) การแก้ไขการไร้สัญชาติที่เกิดจาก
            ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๗ โดยก�าหนดพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๙ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑
            มาตรา ๒๓ เพื่อแก้ไขปัญหาบุคคลไร้สัญชาติ อันเนื่องมาจากการยกเลิกหลักเกณฑ์การให้สัญชาติโดยหลักดินแดน
            (๒) การให้สัญชาติกับบุคคลที่สืบสันดานจากบุพการีที่มีเชื้อสายไทยแต่ไม่ได้สัญชาติไทย หรือเสียสัญชาติไทยโดยผลของ

            กฎหมายอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงเขตแดน อาทิ กลุ่มคนพลัดถิ่นเชื้อสายไทย หรือคนไทยพลัดถิ่น (๓) การลดขั้นตอน
            และระยะเวลาในการพิจารณาอนุมัติสัญชาติไทยเฉพาะราย และ (๔) การแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลของเด็ก
            นักเรียน นักศึกษา และบุคคลไร้สัญชาติในประเทศไทย ที่เป็นบุตรของชนกลุ่มน้อย และกลุ่มชาติพันธุ์ที่เกิดในราชอาณาจักรไทย
            รวมถึงเด็กและบุคคลที่ก�าลังศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาหรือส�าเร็จการศึกษาแล้ว ให้ได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไป

            โดยการตราพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) ที่ก�าหนดหลักเกณฑ์เรื่อง
            การจดทะเบียนการเกิดของเด็กทุกคนที่เกิดในราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
            ก�าหนดหลักการเกี่ยวกับการจัดท�าทะเบียนประวัติของบุคคลที่อาศัยอยู่ในประเทศไว้อย่างชัดเจน นอกจากนั้น รัฐยังด�าเนินการ
            ขับเคลื่อน นโยบาย แนวทางต่าง ๆ ให้ก้าวหน้าบรรลุผลเป็นรูปธรรม อาทิ โครงการก�าหนดสถานะให้แก่บุคคลไร้สัญชาติ

            โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนทั้งในและนอกระบบการศึกษาให้ได้รับสัญชาติไทยอย่างถูกต้อง การมีหนังสือของกระทรวงมหาดไทย
            ผ่อนปรนให้บุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วสามารถเดินทางออกนอกพื้นที่เขตอ�าเภอที่ควบคุมได้
            แต่ให้อยู่ภายในเขตจังหวัดนั้น เป็นต้น
                  ทั้งนี้ จากการติดตามและตรวจสอบกรณีร้องเรียน และการติดตามความคืบหน้าในการส่งเสริมและคุ้มครอง

            สิทธิมนุษยชนตามสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนพื้นเมือง (UNDRIP)
            กสม. ยังพบข้อจ�ากัดในกฎหมายและนโยบายของรัฐในบางส่วนเกี่ยวกับการพิจารณาสัญชาติและสิทธิในความเป็นพลเมือง
            ของรัฐไทย ซึ่งท�าให้เกิดปัญหาสิทธิของบุคคลในกลุ่มนี้ ได้แก่ (๑) การเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติจากการขาดเอกสารพิสูจน์ตน






























                                                                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 27
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33