Page 31 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 31

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มีบทบัญญัติด้านแรงงานอันเกี่ยวเนื่องกับการด�าเนินธุรกิจปรากฏ
           ตามมาตรา ๓๐ และมาตรา ๔๒
                ในปี ๒๕๖๐ รัฐบาลมีความมุ่งมั่นและความก้าวหน้าในการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
           ที่เกิดจากการด�าเนินการของภาคธุรกิจอย่างต่อเนื่อง อาทิ การปรับปรุงแก้ไขพระราชก�าหนดการประมง (ฉบับที่ ๒)

           พ.ศ. ๒๕๖๐ และพระราชก�าหนดการบริหารจัดการการท�างานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงเจตจ�านงทาง
           การเมืองของนายกรัฐมนตรีในการขับเคลื่อนหลักการ UNGPs รวมถึงการมีบัญชาให้คณะกรรมการนโยบายและก�ากับ
           ดูแลรัฐวิสาหกิจขับเคลื่อนให้รัฐวิสากิจน�าหลักการ UNGPs ไปปรับใช้ การพัฒนาแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจและ
           สิทธิมนุษยชน (NAP) เพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามหลักการ UNGPs อย่างจริงจัง และการมีมติคณะรัฐมนตรี (วันที่ ๑๖

           พฤษภาคม ๒๕๕๙ และ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐) ซึ่งเป็นไปตามข้อเสนอแนะของ กสม. จากการตรวจสอบการละเมิด
           สิทธิมนุษยชนจากการลงทุนหรือโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐบาลหรือธุรกิจไทยในประเทศเมียนมาร์ และกัมพูชา


































                ทั้งนี้ แม้ว่า รัฐบาลและธุรกิจโดยส่วนใหญ่จะตื่นตัวเรื่องสิทธิมนุษยชนมากขึ้น แต่ยังพบว่า มีการปฏิบัติที่เป็น
           รูปธรรมไม่มากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการน�ากระบวนการสอบทานการกระท�าที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนอย่าง
           รอบด้าน (Human Rights Due Diligence : HRDD) ไปใช้ก�ากับดูแลกิจกรรมต่าง ๆ ในห่วงโซ่อุปทาน (supply chain)

           และตามภาพรวมของการประกอบธุรกิจ ในขณะที่การเยียวยาโดยส่วนใหญ่ ยังเป็นผลมาจากการด�าเนินการในกระบวนการ
           ทางศาล (judicial process) มากกว่ากระบวนการนอกศาล (non-judicial process) โดยมีลักษณะเป็นค่าชดเชย
           ค่าทดแทน หรือค่าเสียหายต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา และทรัพยากรต่าง ๆ ในการต่อสู้ ด�าเนิน และบังคับคดี และยังมี
           ข้อกังวลเรื่องการดูแลผลกระทบต่าง ๆ ในระยะยาว ตลอดจนการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน

                กสม. เสนอว่า รัฐควรก�าหนดมาตรการที่เป็นรูปธรรมเพื่อป้องกันหรือแก้ไขผลกระทบต่าง ๆ จากการด�าเนินธุรกิจ
           โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสิทธิชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและสุขภาพของสังคมโดยรวม พร้อมทั้งจัดท�ามาตรการ
           ก�ากับดูแลการลงทุนในต่างประเทศของผู้ลงทุนหรือโครงการพัฒนาสัญชาติไทยให้เคารพต่อหลักการพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชน
           พร้อมกับก�าหนดกลไกในการติดตามบังคับใช้ การก�าหนดหรือสร้างแรงจูงใจให้หน่วยงานรัฐและเอกชนน�ากระบวนการ

           HRDD ไปใช้ก�ากับดูแลกิจกรรมต่าง ๆ ในภาพรวม และในห่วงโซ่อุปทาน โดยครอบคลุมถึงโครงการหรือการลงทุน
           ขนาดใหญ่ของรัฐ รัฐวิสาหกิจ รวมถึงโครงการของเอกชนไทยที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทย ทั้งที่เกิดขึ้น
           ในประเทศไทยหรือในประเทศเพื่อนบ้าน



           30 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36