Page 27 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 27

กลุ่มผู้สูงอายุ



                รัฐมีความก้าวหน้าในการด�าเนินงานด้านผู้สูงอายุโดยมีนโยบาย แผนงานระดับชาติ ตลอดจนมาตรการต่าง ๆ
           เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ อาทิ มีการก�าหนดมิให้เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งอายุไว้ในรัฐธรรมนูญ มีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับ

           ผู้สูงอายุที่ส�าคัญ อย่างไรก็ตาม ภาพรวมสถานการณ์ผู้สูงอายุยังพบว่า ผู้สูงอายุยังประสบปัญหาด้านความมั่นคงทางรายได้
           โดยหนึ่งในสามของผู้สูงอายุมีรายได้ต�่ากว่าเส้นความยากจน นอกจากนี้ สถานการณ์ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิ
           ต่อผู้สูงอายุ พบว่า ล�าดับ (๑) คือ ถูกกระท�ารุนแรงทางจิตใจ (๒) การทอดทิ้งละเลย ไม่ดูแล หรือให้การดูแลไม่เหมาะสม
           รวมทั้งปัญหาที่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่ตัวคนเดียว ไม่มีผู้ดูแล (๓) การกระท�ารุนแรงโดยการเอาประโยชน์ด้านทรัพย์สิน

           ของผู้สูงอายุ (๔) ผู้สูงอายุที่ถูกกระท�าความรุนแรงทางด้านร่างกาย และ (๕) การล่วงละเมิดทางเพศหรือคุกคามทางเพศ
           ดังนั้น รัฐจึงควรมีกลไกการคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุให้ได้รับความคุ้มครองสิทธิอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่ยังมี
           สติสัมปชัญญะ มีความสามารถในการตัดสินใจด้วยตนเอง เช่น ระบบพิทักษ์สิทธิ (Guardianship) รวมทั้งควรระมัดระวัง
           นโยบาย แผนงาน ตลอดจนการด�าเนินการใด ๆ ของรัฐที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุจะไม่เป็นเหตุแห่งการเหยียดวัย



           กลุ่มคนพิการ


                การส่งเสริมคุ้มครองพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในประเทศไทยปี ๒๕๖๐ รัฐโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดท�า

           แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔) เพื่อสนับสนุนเสริมพลังคนพิการ ขจัดการเลือก
           ปฏิบัติเพื่อให้คนพิการเข้าถึงสิทธิได้จริง เสริมสร้างความเข้าใจและเจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อคนพิการ รวมถึงขับเคลื่อน
           การสร้างสภาพแวดล้อมและบริการสาธารณะที่ทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ตลอดจนส่งเสริมการบูรณาการเครือข่ายและ
           การมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ รัฐได้มีการด�าเนินการในการพัฒนาคุณภาพชีวิต

           คนพิการ กล่าวคือ (๑) ด้านการศึกษาของคนพิการ รัฐได้สนับสนุนการจัดการศึกษาในรูปแบบการเรียนรวม โดยมีโรงเรียนต้นแบบ
           การเรียนรวม ซึ่งพัฒนาให้เป็นหน่วยบริหารเพื่อช่วยเหลือนักเรียนพิการ การฝึกทักษะและพัฒนาศักยภาพคนพิการในระดับ
           อาชีวศึกษา รวมถึงสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาจัดตั้งศูนย์บริการนักศึกษาพิการ หรือจัดให้มีหน่วยงานบริการนักศึกษาพิการ
           ในสถาบัน (๒) ด้านการจ้างงานคนพิการ รัฐได้ด�าเนินการเพื่อส่งเสริมพัฒนาทักษะ และอ�านวยความสะดวกในการจ้างงาน

           ส�าหรับคนพิการ โดยมีการขึ้นทะเบียนคนพิการที่ประสงค์จะท�างานกับนายจ้าง และประสานสถานประกอบการเพื่อรับแจ้ง
           ต�าแหน่งงานว่าง ตลอดจนจัดส่งคนพิการเข้ารับการสัมภาษณ์ และ (๓) ด้านบริการสาธารณสุขของคนพิการ โดยเมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม
           ๒๕๖๐ คสช. มีมติแก้ไขค�าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๕๘/๒๕๕๙ เรื่องการรับบริการสาธารณสุขของคนพิการตามกฎหมาย






























           26 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32