Page 29 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 29
การขาดความชัดเจนหรือปัญหาข้อติดขัดการเพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎร และขอมีบัตรประจ�าตัวประชาชน (๒) การเป็นบุคคล
ไร้รากเหง้าทั้งเหตุจากการก�าพร้าบุพการี หรือการถูกทอดทิ้ง (๓) การถูกจ�าหน่ายหรือการระงับความเคลื่อนไหวรายการ
บุคคลทางทะเบียนราษฎร (๔) การขาดความชัดเจนของกฎหมาย นโยบาย หรือการปฏิบัติเกี่ยวกับการขอแปลงสัญชาติ
(เป็นไทย) ส�าหรับบุคคลไร้สัญชาติในบางกรณี (อาทิ บุคคลผู้ท�าคุณประโยชน์) และ (๕) การขาดนิยามความชัดเจนของ
ค�าว่าชนพื้นเมือง (indigenous peoples) ซึ่งหมายถึงกลุ่มคนชุมชนที่มีอยู่ ใช้ชีวิต และผูกพันกับถิ่นฐาน วิถีปฏิบัติ และ
วัฒนธรรมของบรรพบุรุษอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น ยังพบข้อเท็จจริงว่า มีกลุ่มผู้เฒ่าไร้สัญชาติ (อายุ ๖๐ ปี ขึ้นไป) ทั้งสิ้น
๘๐,๑๑๘ คน ในขณะที่มีเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติที่อยู่ในสถาบันการศึกษา และไม่มีเอกสารพิสูจน์ตัวบุคคล (เด็ก
รหัส G) จ�านวน ๙๐,๙๖๖ คน และเด็กและเยาวชนที่เติบโตในประเทศไทย (เกิดนอกประเทศไทย) ซึ่งยังประสบปัญหา
การพัฒนาสถานะบุคคลตามกฎหมายไทย
ในส่วนของประชากรข้ามชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มแรงงานข้ามชาติและผู้ติดตาม รัฐบาลมีนโยบาย/มาตรการ
เพื่อส่งเสริมสิทธิและแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติหลายประการ เช่น การออกพระราชก�าหนดการน�าคนต่างด้าวมาท�างาน
กับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ การจัดท�าโครงการความร่วมมือทางวิชาการเพื่อแก้ไขปัญหารูปแบบการท�างานที่ไม่
เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่องประมงทะเล รวมถึงการจัดการด้านนโยบายทั้งการพิสูจน์
สัญชาติ หรือการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว ซึ่งท�าให้สถิติแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมายมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่
ประเทศไทยยังมิได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ICRMW อย่างไรก็ตาม สนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนหลายฉบับให้การรับรอง
สิทธิของแรงงานย้ายถิ่น (แรงงานข้ามชาติ) ในขณะที่ประเทศไทยยังคงต้องพึ่งพาแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก
ประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ ยังพบข้อท้าทายที่ส่งผลต่อสิทธิของแรงงานข้ามชาติและผู้ติดตามในหลายส่วน ได้แก่ กระบวน
การพิสูจน์สัญชาติของแรงงานข้ามชาติ ซึ่งมีความยากล�าบากในการเข้าถึง และมีค่าใช้จ่ายจ�านวนมาก และปัญหาสภาพ
การท�างานที่ไม่ปลอดภัย การเข้าถึงและใช้สิทธิจากระบบประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพ รวมถึง การไม่สามารถจัด
ตั้งและเข้าร่วมเป็นกรรมการสหภาพแรงงานได้ อีกทั้งความล่าช้าของการด�าเนินการจัดตั้ง “กลไกการคัดกรอง การจัดการ
การย้ายถิ่น ผู้หลบหนีเข้าเมือง และผู้ลี้ภัย” ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๐
ส่วนที่ ๕ การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนใน ๕ ประเด็นร่วม
มี ๕ ประเด็นร่วม คือ
สถานการณ์การค้ามนุษย์
สนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนและตราสารระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีหลายฉบับรับรองสิทธิ
การมีชีวิตอยู่ ห้ามบุคคลมิให้ถูกกระท�าทรมาน ตกอยู่ในภาวะเยี่ยงทาส ถูกจับกุมตามอ�าเภอใจ บังคับใช้แรงงาน และ
28 | รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐