Page 33 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 33

นักปกป้องสิทธิมนุษยชน



                สถานการณ์ ณ ปัจจุบัน นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมีความส�าคัญต่อการส่งเสริมและต่อสู้เพื่อให้เกิดการคุ้มครอง
           สิทธิมนุษยชน และในประเทศไทยก็มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ที่ออกมาแสดงออกในฐานะนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

           ไม่ว่าจะเป็นประเด็นด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือด้านสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับ
           การใช้อ�านาจรัฐ เมื่อพิจารณาสถานการณ์เกี่ยวกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน พบว่า กรณีที่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนเผชิญกับ
           ปัญหาอุปสรรคในการต่อสู้ ปกป้อง เรียกร้องเพื่อสิทธิและเสรีภาพของตนเองและบุคคลอื่น เป็นสถานการณ์ที่ยังคงเกิดขึ้น
           อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการได้รับผลกระทบจากการใช้กลไกทางกฎหมายในการฟ้องด�าเนินคดีกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

           หรือการใช้ก�าลังของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยว่าเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งอาจ
           ถือได้ว่าหลักการตามกติกา ICCPR และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิและความรับผิดชอบของปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และ
           องค์กรของสังคมในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน (Declaration on Human Rights
           Defenders) ซึ่งเป็นที่ยอมรับในสากลยังไม่ได้รับการยอมรับหรือปฏิบัติมากนัก ขณะเดียวกัน สิ่งที่เป็นข้อห่วงกังวลที่มีแนวโน้ม

           เกิดขึ้นกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนเพิ่มมากขึ้นคือ การฟ้องร้องในข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ซึ่งอาจส่งผล
           ให้เกิดความหวาดกลัวต่อการแสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่สื่อออนไลน์ อนึ่ง การให้ความส�าคัญต่อ
           นักปกป้องสิทธิมนุษยชน เป็นประเด็นที่ไม่ปรากฏในกลไกทางกฎหมายหรือการก�าหนดนโยบายของรัฐอย่างชัดเจน
                กสม. ขอเสนอให้รัฐบาลด�าเนินการ (๑) การศึกษาความเหมาะสมในการมีกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการด�าเนิน

           คดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของสาธารณชน เพื่อเป็นกลไกทางกฎหมายในการปกป้องและคุ้มครองบุคคล
           หรือกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ที่แสดงออกในฐานะนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (๒) การรับฟังและติดตามสถานการณ์ของนักปกป้อง
           สิทธิมนุษยชน เพื่อรับทราบถึงสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา (๓) การสร้างความตระหนักกับหน่วยงานภาครัฐ
           ด้านกระบวนการยุติธรรมเพื่อท�าความเข้าใจต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชน รวมถึงบริบทหน้าที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักปกป้อง

           สิทธิมนุษยชน เพื่อน�าไปสู่การพิจารณาความเหมาะสมในการใช้บังคับใช้กฎหมายและการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง











































           32 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38