Page 32 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 32
บทสรุปเชิงผู้บริหาร
สิทธิชุมชนและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รัฐพยายามด�าเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาประเทศ แต่ในหลายกรณียังไม่เป็นไปตามหลักการมีส่วนร่วม บทสรุป
ของประชาชน ทั้งการให้ข้อมูล การรับฟังความคิดเห็น และการขาดการวางแผนหรือเตรียมความพร้อมในการเยียวยาหรือ
แก้ไขปัญหาให้แก่บุคคล/ชุมชนที่ได้รับผลกระทบ จึงส่งผลให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนและชุมชน
และการสร้างความเหลื่อมล�้าในสังคม โดยมีสถานการณ์ส�าคัญได้แก่ (๑) การบริหารจัดการพลังงาน โดยการสร้างโรงงาน
ไฟฟ้าถ่านหินในหลายจังหวัดเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน อาทิ สงขลา (อ�าเภอเทพา) ท�าให้เกิดการคัดค้าน
ต่อต้านจากชุมชนในพื้นที่ซึ่งมีความกังวลถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นและยังมิได้มีส่วนร่วม (๒) การบริหารจัดการเหมืองแร่
คณะรัฐมนตรีมีมติก�าหนดยุติการท�าเหมืองทั่วประเทศหลังจากวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ และปรับปรุงแก้ไขพระราช
บัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน รัฐบาลก�าลังทบทวนกฎหมายดังกล่าว (๓) การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
ที่ดินและป่าไม้ สืบเนื่องจากการใช้ค�าสั่ง คสช. ที่ ๖๔/๒๕๕๗ และที่ ๖๖/๒๕๕๗ เห็นว่าการด�าเนินนโยบายพัฒนาต่าง ๆ
ของรัฐ ยังมิค�านึงหรือใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนและชุมชน
นอกจากนี้ การด�าเนินนโยบายพัฒนายังขาดความสอดคล้องหรือขัดแย้งกับนโยบายอื่น ๆ รวมถึงแนวทางการพัฒนาซึ่งเป็น
วาระของชาติ และ (๔) การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีผลกระทบต่อสิทธิของประชาชนอย่างน้อย ๒ ประการ คือ ค�าสั่ง
คสช. ที่ ๓/๒๕๕๙ และ ๔/๒๕๕๙ ซึ่งมีผลกระทบต่อสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน และสิทธิในการมีชีวิตอยู่ในสภาพ
แวดล้อมที่ดี ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองและกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร เป็นกฎหมายที่มีเนื้อหาและ
กระบวนการด�าเนินการอยู่ภายใต้หลักการคุ้มครองสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชนและการมีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี
เมื่อมีการยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายทั้งสองฉบับในพื้นที่จัดท�าโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ ท�าให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับ
ความเสี่ยงจากผลกระทบต่าง ๆ
นอกจากนั้น ยังพบสถานการณ์ที่เป็นข้อท้าทายในส่วนของการใช้กฎหมายหรืออ�านาจตามมาตรา ๔๔ ของ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ในการตราหรือบังคับใช้กฎหมาย หรือนโยบาย
เกี่ยวกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจในบางพื้นที่ โดยการยกเว้นกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย หรือผ่อนปรนมาตรฐานในการ
ด�าเนินการบางด้าน ซึ่งท�าให้เกิดความเสี่ยงอันอาจจะเกิดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 31