Page 30 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 30

บทสรุปเชิงผู้บริหาร




            คุ้มครองบุคคลจากการถูกแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจและทางเพศ เป็นต้น การค้ามนุษย์จึงขัดกับสิทธิมนุษยชน
            ที่ประเทศไทยให้การรับรอง การค้ามนุษย์มีหลายรูปแบบ ทั้งการค้าประเวณีหรือขายบริการทางเพศ การบังคับใช้แรงงาน  บทสรุป
            การบังคับเป็นขอทาน และการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ เป็นต้น ในปี ๒๕๖๐ เกิดเหตุการณ์การค้ามนุษย์ในหลายกรณีและ
            บางกรณีมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องจ�านวนมาก ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาจัดระดับว่าประเทศไทย

            ยังอยู่ในระดับ Tier 2 Watch List (ประเทศในกลุ่มที่ต้องจับตามอง) อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีแผนสิทธิมนุษยชน
            แห่งชาติ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๖๑) และได้ออกกฎหมายและประกาศหลายฉบับที่ส่งผลให้เกิดการคุ้มครองและ
            ป้องกันการค้ามนุษย์ เช่น พระราชบัญญัติปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ ๓ ) พ.ศ. ๒๕๖๐ พระราชก�าหนดการบริหาร
            จัดการการท�างานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และบางคดีศาลมีค�าพิพากษาลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งหน่วยงาน

            ที่เกี่ยวข้องได้ด�าเนินการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในหลายประการ ทั้งในระดับภายในประเทศและความ
            ร่วมมือระหว่างประเทศ
                  เมื่อเกิดเหตุการณ์การค้ามนุษย์ พบว่า บางกรณีมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องจ�านวนมากและบางกรณีเมื่อ
            เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมกลับไม่ได้รับสิทธิตามกระบวนการยุติธรรมที่เหมาะสมขัดกับสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชน

            ที่ประเทศไทยเป็นภาคี ดังนั้นหน่วยงานของรัฐจึงควรด�าเนินการตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอย่างจริงจัง มีการอบรม
            ให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ทุกระดับอย่างต่อเนื่อง น�าหลักเกณฑ์ที่มีการประกาศใช้แล้วมาบังคับใช้ในทางปฏิบัติ และกรณี
            ที่เป็นพยานในคดีค้ามนุษย์ควรมีมาตรการดูแลที่เหมาะสม


            สถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้



                  ปี ๒๕๖๐ มีสถิติเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ลดลงเมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๙ โดยเกิดเหตุการณ์
            ความไม่สงบจ�านวน ๕๕๑ ครั้ง มีผู้เสียชีวิต ๒๓๕ ราย ผู้ได้รับบาดเจ็บ ๓๕๖ ราย ในขณะที่ปี ๒๕๕๙ มีเหตุการณ์เกิดขึ้น

            ๘๐๗ ครั้ง มีผู้เสียชีวิต ๓๐๗ ราย และผู้ได้รับบาดเจ็บ ๖๒๘ ราย โดยรัฐพยายามลดความรุนแรงในพื้นที่ซึ่งมีผลต่อ
            สิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของประชาชนผ่านกระบวนการพูดคุยสันติสุขและการสร้างความเข้าใจในพื้นที่ นอกจากนี้
            รัฐได้ให้ความช่วยเหลือเยียวยาในด้านทรัพย์สินและการฟื้นฟูจิตใจแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ
            อย่างไรก็ตาม ยังคงปรากฏสถานการณ์ที่น่าห่วงกังวลในประเด็นสิทธิในกระบวนการยุติธรรม โดยที่ กสม. ยังคงได้รับ

            เรื่องร้องเรียนที่กล่าวอ้างว่ามีการกระท�าการอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในระหว่างการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย
            ในคดีความมั่นคงไปซักถาม ทั้งนี้ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ประเด็นสิทธิในกระบวนการยุติธรรมเป็นประเด็นที่มีจ�านวนเรื่องร้องเรียน
            เข้ามายัง กสม. มากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีข้อห่วงกังวลต่อผลกระทบในสิทธิในชีวิตและร่างกายของเด็กและสตรี การมีส่วนร่วมของสตรี
            ในกระบวนการสันติภาพ รวมถึงภาวะทุพโภชนาการของเด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่พบว่า จังหวัดนราธิวาส

            ปัตตานี และยะลา ยังคงมีจ�านวนเด็กแรกเกิดถึงอายุ ๑๒ ปี ไม่ผ่านเกณฑ์ในการได้รับวัคซีนป้องกันโรคครบตามตาราง
            สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค สูงเป็นสามอันดับแรกของประเทศไทย และอัตราของเด็กอายุต�่ากว่า ๕ ปี ที่มีภาวะผอมแห้ง
            หรือภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลันในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ


            ธุรกิจและสิทธิมนุษยชน



                  การด�าเนินธุรกิจก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนหลายประการ ท�าให้ในปี ๒๕๕๔ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน
            ของสหประชาชาติได้ให้การรับรองเอกสารหลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนส�าหรับธุรกิจภายใต้กรอบ

            “คุ้มครอง-เคารพ-เยียวยา” (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: Implementing
            the United Nations “Protect, Respect and Remedy” Framework : UNGPs) เป็นบรรทัดฐานการด�าเนินธุรกิจ
            ที่เคารพสิทธิมนุษยชน และผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ น�าหลักการ UNGPs ไปใช้ให้เกิดผลภายในประเทศ นอกจากนี้



                                                                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 29
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35