Page 24 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 24

บทสรุปเชิงผู้บริหาร




            กรณีอุบัติเหตุภายใน ๗๒ ชั่วโมงแรกที่ไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายกับผู้ป่วย การแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
            การน�าเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพมาใช้พัฒนาปรับปรุงระบบการบริการ การประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุม       บทสรุป
            การส่งเสริมการตลาดอาหารส�าหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้น
                  อย่างไรก็ตาม การพัฒนาความก้าวหน้าสิทธิด้านสุขภาพยังมีปัญหาและอุปสรรคในเชิงโครงสร้างเกี่ยวกับ

            ความเหลื่อมล�้าในการเข้าถึงได้ โดยเฉพาะกับกลุ่มคนชายขอบซึ่งยังเข้าไม่ถึงการบริการ และรัฐบาลจึงจ�าเป็นต้องด�าเนินการ
            อย่างต่อเนื่องในการเข้าถึงสิทธิด้านอนามัยเจริญพันธุ์ ผ่านระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของกลุ่มวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์
            การสาธารณสุขในสถานกักขังและเรือนจ�า การให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และ
            การใช้สารเคมีป้องกันและก�าจัดศัตรูพืชซึ่งจะเกิดผลกระทบต่อปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ ดังนั้น จึงมีข้อเสนอแนะให้รัฐบาล

            เร่งด�าเนินการปฏิรูปด้านสาธารณสุขในเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพ ระบบการแพทย์ปฐมภูมิ การสนับสนุนก�าลังบุคลากร
            ด้านสาธารณสุข เพื่อลดความเหลื่อมล�้าของประชาชนในการเข้าถึงสิทธิในการรับบริการสาธารณสุขของรัฐ


            สิทธิในการท�างาน



                  กติกา ICESCR ได้ประกันสิทธิในการท�างาน ไว้ในข้อ ๖-๘ ได้แก่ (๑) สิทธิในการท�างาน (๒) สิทธิในการ
            ได้รับเงื่อนไขการท�างานที่เหมาะสมเป็นธรรม และ (๓) สิทธิที่จะก่อตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน ในขณะที่
            รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๖๐  ได้มีบทบัญญัติด้านสิทธิในการท�างาน

            ไว้ในมาตรา ๓๐ มาตรา ๔๐ และมาตรา ๔๒
                  ในปี  ๒๕๖๐  รัฐบาลด�าเนินการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในการท�างานในหลายส่วน  อาทิ
            การประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการเกษียณอายุ และ
            การจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างกรณีเกษียณอายุ การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต�่าเพิ่มขึ้นในบางท้องที่ การด�าเนินมาตรการการ

            บริหารจัดการแรงงานนอกระบบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับข้อสังเกตเชิงสรุปต่อรายงานการปฏิบัติงานฉบับที่ ๑ และ ๒
            ของคณะกรรมการประจ�ากติกา ICESCR และข้อเสนอแนะจากกระบวนการ UPR รอบที่ ๒ โดยเฉพาะเรื่องการขยาย
            ความคุ้มครองหลักประกันสังคม เป็นต้น อย่างไรก็ดี ยังพบว่ามีปัญหาและอุปสรรคบางประการที่ท�าให้การคุ้มครอง
            สิทธิในการท�างานไม่มีประสิทธิผลเท่าที่ควร

            อาทิ การเรียกร้องค่าจ้างขั้นต�่าที่ไม่สอดคล้อง
            กับค่าครองชีพและการเพิ่มค่าจ้างไม่เท่ากัน
            ทั้งประเทศ  รวมทั้งไม่ได้เป็นอัตรา
            ค่าจ้างขั้นต�่าแรกเข้าที่เพียงพอต่อการ

            เลี้ยงชีพของตนเองและครอบครัวอีก ๒ คน
            ตามหลักการขององค์การ ILO ตลอดจน
            การที่รัฐยังไม่มีความก้าวหน้าในการเข้าเป็น
            ภาคีอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘

            เท่าที่ควร รวมไปถึงเรื่องความไม่ครอบคลุม
            ของกลุ่มลูกจ้างในการก�าหนดอัตราค่าจ้าง
            ขั้นต�่าของกลุ่มลูกจ้างบางกลุ่ม บางประเภท
            และการขาดการตรวจสอบข้อบังคับเกี่ยวกับ

            การท�างาน ซึ่งเป็นกรณีตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐







                                                                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 23
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29