Page 26 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 26

บทสรุปเชิงผู้บริหาร




                  ดังนั้น รัฐจึงควรให้ความส�าคัญกับการด�าเนินการใด ๆ เพื่อขจัดแนวความคิดแบบเก่าเกี่ยวกับบทบาทของบุรุษ
            และสตรีในทุก ๆ ระดับ และทุก ๆ รูปแบบของการศึกษา โดยอาจบรรจุหลักสูตร/บทเรียนที่เกี่ยวกับความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ   บทสรุป
            ไว้ในทุกระดับการศึกษา อีกทั้งรัฐควรพิจารณาให้มาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดหรือการคุกคามทางเพศ
            ในการท�างาน มีสภาพในลักษณะบังคับ มีบทลงโทษที่ชัดเจน และขอให้รัฐให้ความส�าคัญกับการก�าหนดอายุขั้นต�่า

            ที่จะจดทะเบียนสมรสทั้งหญิงและชายให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล คือ อายุขั้นต�่าที่สุดของการแต่งงานควรอยู่ที่ ๑๘ ปี




            กลุ่มวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศ



                  สังคมไทยมีพัฒนาการการยอมรับอัตลักษณ์ ความหลากหลาย และการแสดงออกทางเพศเพิ่มมากยิ่งขึ้น แต่ยังพบ
            ปัญหา อุปสรรค ที่เป็นข้อท้าทายใน ๔ ด้านส�าคัญที่เป็นผลมาจากโครงสร้าง ทัศนคติ และความเข้าใจต่าง ๆ กล่าวคือ
            การตีตราและการคุกคามทางเพศและการกระท�าความรุนแรงต่อบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในสถานการณ์ทั่วไป

            โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตซ�้าของสื่อที่แสดงทัศนะต่อบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในลักษณะเหมารวมและผิดปกติ
            จากคนทั่วไป การมีกฎหมายหรือนโยบายที่กีดกันลักษณะการแสดงวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศ (อาทิ การแต่งกายของ
            นักศึกษาข้ามเพศ) การเลือกปฏิบัติในเชิงระบบ และการกีดกันมิให้บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเข้าใช้บริการ หรือ
            สถานที่ในบางแห่ง
































                  ปี ๒๕๖๐ มีสถานการณ์ที่เป็นข้อท้าทายต่อความเข้าใจเกี่ยวกับเพศสภาพ โดยยังพบลักษณะของการตีความหรือช่องว่าง
            ให้เกิดการตีความซึ่งส่งผลต่อการเลือกปฏิบัติในพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยบัญญัติให้มี

            การเลือกปฏิบัติได้ด้วยเหตุผลตามหลักการทางศาสนาหรือเพื่อความมั่นคงของประเทศ หรือเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและ
            ความปลอดภัย ซึ่งขัดกับความเห็นทั่วไปของคณะกรรมการประจ�ากติกา CEDAW นอกจากนั้น ยังพบว่า พระราชบัญญัติ
            คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้สิทธิเฉพาะกับสามีภริยาที่ชอบ
            ด้วยกฎหมายเท่านั้นในการมีบุตรโดยให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน ทั้งที่เป็นสิทธิในการก่อตั้งครอบครัว ซึ่งการใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน

            ฉันท์สามีภริยา โดยประสงค์จะจดทะเบียนสมรสกันหรือไม่ ย่อมเป็นการก�าหนดร่วมกันของสามีภริยา รวมถึงการกีดกันสิทธิในการ
            สร้างครอบครัวของคู่รักเพศเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่จ�าเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขและพัฒนากฎหมายฉบับต่าง ๆ
            ที่เกี่ยวข้องในโอกาสต่อไป



                                                                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 25
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31