Page 25 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 25

ส่วนที่ ๔ การประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของบุคคล ๖ กลุ่ม



                น�าเสนอประเด็นสิทธิของบุคคล ๖ กลุ่ม ดังนี้


           กลุ่มเด็ก



                ประเทศไทยมีประชากรเด็ก (อายุ ๐ - ๑๗ ปี) จ�านวน ๑๓,๗๓๐,๙๒๗ คน โดยคณะกรรมการประจ�าอนุสัญญา
           CRC มีข้อห่วงกังวลต่อสถานการณ์เด็กในประเทศไทยในเรื่องหลัก ๆ ได้แก่ ภาวะทุพโภชนาการ การไม่มีกฎหมายก�ากับ

           การโฆษณาผลิตภัณฑ์ทดแทนนมแม่ การปกป้องคุ้มครองเด็กจากการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ การคุ้มครองเด็กจาก
           ความรุนแรง การคุ้มครองเด็กเคลื่อนย้ายและเด็กที่เป็นบุตรของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและ
           การบาดเจ็บในเด็ก และการพัฒนาระบบการเก็บข้อมูลที่ครอบคลุมและสามารถน�ามาใช้วิเคราะห์ประเมินความก้าวหน้า
           ของงานสิทธิเด็ก เป็นต้น ในปี ๒๕๖๐ รัฐพยายามด�าเนินการต่าง ๆ ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็ก ผ่านการแก้ไข

           กฎหมายหลายฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๐ พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็ก
           และเยาวชนแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐
           และพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริม
           การตลาดอาหารส�าหรับทารกและเด็กเล็กและ

           ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. ๒๕๖๐
                อย่างไรก็ดี ยังพบสถานการณ์ที่รัฐ
           จ�าเป็นต้องให้ความส�าคัญในการเฝ้าระวังและ
           แก้ไขปัญหา อาทิ การลดอัตราการเสียชีวิต

           และได้รับบาดเจ็บของเด็กจากการจมน�้าและ
           อุบัติเหตุทางท้องถนน การเฝ้าระวังปัญหาสื่อ
           ลามกเด็ก และการคุ้มครองเด็กที่เป็นผู้ติดตาม
           แรงงานข้ามชาติ เป็นต้น



           กลุ่มสตรี


                รัฐมีความก้าวหน้าในการปฏิรูปกฎหมายตามอนุสัญญา CEDAW โดยบรรจุหลักการความเสมอภาคระหว่างเพศ

           ไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ และความก้าวหน้าด้านการศึกษาของสตรีโดยสัดส่วนของสตรี
           ที่ได้รับการศึกษาสูงมากเมื่อเทียบกับสตรีที่ไม่ได้รับการศึกษา ในขณะที่มีความพยายามลดความเหลื่อมล�้าระหว่างเพศ
           แต่ก็ยังมีข้อท้าท้ายที่ส่งผลต่อความเสมอภาคระหว่างเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรุนแรงต่อสตรีที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะ
           สถานการณ์ด้านความรุนแรงในครอบครัว สถานการณ์สิทธิสตรีเป็นปัญหาที่มีรากเหง้าจากเจตคติแบบเก่าที่มีต่อสตรี

           อันเป็นพื้นฐานไปสู่การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ ยังพบว่ามาตรการเชิงบริหารที่รัฐน�ามาใช้กับองค์กรท้องถิ่น
           เพื่อป้องกันการคุกคามทางเพศในที่ท�างานซึ่งเป็นการเลือกปฏิบัติทางเพศรูปแบบหนึ่งเป็นเพียงแนวปฏิบัติหรือแนวทาง
           อย่างกว้าง ๆ ในทางปฏิบัติจึงยากที่มาตรการดังกล่าวจะสามารถคุ้มครองผู้ที่ถูกละเมิดหรือถูกคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
           นอกจากนี้ ยังพบว่า ยังคงมีข้อมูลทางสถิติของเด็กหญิงที่แต่งงานก่อนวัยอันควรซึ่งบางส่วนต้องเผชิญกับสถานการณ์

           การหย่าร้างหรือแยกกันอยู่ ซึ่งการแต่งงานก่อนวัยอันควรของเด็กถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและ
           จะส่งผลกระทบต่อชีวิตของเด็กหญิงในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการตัดโอกาสทางการศึกษาของเด็กหญิง





           24 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30