Page 23 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 23
และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. .... และในส่วนของเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ พบว่า ผู้บังคับ
ใช้กฎหมายพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๘ ยังขาดความชัดเจนในการพิจารณาระหว่างการชุมนุมที่ไม่ได้
เกี่ยวข้องกับการเมือง และการใช้ดุลพินิจที่เป็นการจ�ากัดสิทธิมากกว่าการส่งเสริมและคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญได้บัญญัติ
รับรอง และคุ้มครองไว้
ส่วนที่ ๓ การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ
วัฒนธรรม
สิทธิทางการศึกษา
รัฐบาลได้มีนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ประกันสิทธิทางการศึกษา และด�าเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อบรรลุ
สิทธิทางการศึกษาโดยล�าดับ ซึ่งสอดคล้องกับข้อ ๑๓ ของกติกา ICESCR อาทิ การจัดแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐
- ๒๕๗๙ การแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา การให้ความส�าคัญกับการสนับสนุนงบประมาณ
ด้านการศึกษา (ร้อยละ ๑๘.๒ ของงบประมาณ
รายจ่ายทั้งหมด) การประกันการเข้าถึงการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๕ ปี การจัดการศึกษา
ระดับขั้นอุดมศึกษาบนพื้นฐานความสนใจ
และความสามารถโดยไม่มีค่าใช้จ่ายผ่าน
โครงการ Thai MOOC การสนับสนุนเงินเพิ่ม
ให้กับโรงเรียนขนาดเล็กทั้งในระดับประถม
ศึกษาและมัธยมศึกษาและนักเรียนยากจน
การน�าเทคโนโลยีทางไกลมาพัฒนาคุณภาพ
ในทางการศึกษา การให้ภาคเอกชนและ
ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษากับภาครัฐ และการประกาศใช้พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ยังพบปัญหาและอุปสรรคเชิงโครงสร้างเกี่ยวกับการเข้าถึงสิทธิทางการศึกษา (accessibility) โดย
เฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนชายขอบซึ่งไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาภาคบังคับได้อย่างครบถ้วน และมีคุณภาพสอดคล้องกับ
วิถีชีวิต ดังนั้น จึงมีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลเร่งด�าเนินการปฏิรูปการศึกษาให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๖๐ โดยเฉพาะการลดความเหลื่อมล�้าและการจัดการประเมินผลส�าเร็จและเผยแพร่ความก้าวหน้า
ของนโยบาย กฎหมาย มาตรการและกลไกต่าง ๆ ที่รัฐบาลได้ด�าเนินการไปแล้ว ให้สาธารณชนได้รับทราบเพื่อสร้าง
ความตระหนักในการมีอยู่และการเข้าถึงสิทธิทางการศึกษา
สิทธิด้านสุขภาพ
รัฐบาลได้จัดท�านโยบายและมาตรการต่าง ๆ ในการประกันสิทธิในสุขภาพ ตลอดจนมีความพยายามอย่างต่อเนื่อง
ที่จะด�าเนินการเพื่อบรรลุผลตามมาตรฐานสูงสุดที่เป็นไปได้ (the highest attainable standard of health) ในการจัด
บริการด้านสาธารณสุขอย่างเพียงพอกับความต้องการของประชาชน และข้อ ๑๒ ของกติกา ICESCR อาทิ การประกัน
สิทธิในการเข้าถึงการบริการสาธารณสุขของรัฐให้กับประชากรภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และในกรณีฉุกเฉินและ
22 | รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐