Page 21 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 21
ส่วนที่ ๒ การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
มี ๓ ประเด็นหลัก คือ
การทรมานและการบังคับสูญหาย
สิทธิที่จะไม่ถูกกระท�าทรมานและบังคับสูญหายเป็นสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย ได้รับการรับรองใน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ กติกา ICCPR และอนุสัญญา CAT โดยในปี ๒๕๕๙ - ๒๕๖๐ รัฐบาลได้
ผลักดันให้มีการยกร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและกระท�าให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... โดยหลังจากที่ร่าง
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมาธิการสามัญกิจการสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ที่ประชุมได้มีมติให้น�าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวคืนสู่การพิจารณาของรัฐบาลอีกครั้ง
เนื่องจากเห็นควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบางประการ โดยองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ล้วนแสดงความกังวล และขอให้รัฐบาลเร่งรัดการพิจารณาพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ – ๒๕๕๙ กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการกระท�าทรมานจ�านวน ๑๐๒ ค�าร้อง โดยส่วนใหญ่
เป็นค�าร้องที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และในปี ๒๕๖๐ มีจ�านวน ๒๗ ค�าร้อง โดยส่วนมากเป็นการกล่าว
อ้างว่าเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงเป็นผู้กระท�าทรมานขณะจับกุมหรือควบคุมตัว แต่ทว่า ในปี ๒๕๖๐ กสม. ยังไม่พบเรื่องร้องเรียน
เกี่ยวกับการบังคับให้สูญหาย จึงอาจกล่าวได้ว่า การที่คณะรัฐมนตรีเสนอร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม
การทรมานฯ เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมาธิการสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นสถานการณ์ส�าคัญที่มี
ความก้าวหน้า แต่ขณะเดียวกันการที่คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติให้คณะรัฐมนตรีน�าร่าง
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ กลับไปทบทวนอีกครั้งกลับท�าให้การแก้ไขปัญหาการกระท�าทรมานและ
การบังคับสูญหายในเชิงโครงสร้างต้องสะดุดลง กระบวนการตรากฎหมายฉบับนี้มีความล่าช้าเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงเสนอให้รัฐ
เร่งด�าเนินการให้สอดคล้องกับอนุสัญญา CAT ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี โดยการตราพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม
การทรมานฯ การก�าหนดให้การกระท�าทรมานและการบังคับสูญหายเป็นความผิดทางอาญา การศึกษาความเป็นไปได้ในการให้สัตยาบัน
อนุสัญญา CPED และการจัดตั้งกลไกการร้องเรียนและให้มีการสอบสวนข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการทรมานและการบังคับสูญหาย
ซึ่งจะประกัน หรือดูแลให้เกิดการแจ้งข้อมูล
ที่เป็นจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ของการกระท�า
ทรมานและการบังคับสูญหาย รวมถึงการอบรม
ความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติมให้กับเจ้าพนักงาน
ผู้บังคับใช้กฎหมายและเจ้าหน้าด้านความมั่นคง
เพื่อให้เกิดความเคารพอย่างเต็มที่ต่อสิทธิมนุษยชน
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
กติกา ICCPR และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้รับรองสิทธิในกระบวนการยุติธรรมไว้ และรัฐได้พยายามด�าเนิน
การทั้งการแก้ไข ปรับปรุง หรือตรากฎหมายและนโยบาย ตลอดจนการส่งเสริมการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อให้บุคคล
ทุกคนสามารถเข้าถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมกัน และค�านึงถึงสิทธิของผู้ต้องหา จ�าเลยและผู้ต้องขัง
ในปี ๒๕๖๐ รัฐได้ด�าเนินการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ซึ่งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ได้จัดท�า
แผนปฏิรูปด้านกระบวนการยุติธรรม ๑๐ ด้าน การตราพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อให้การด�าเนินการต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามหลักสากล การปล่อยตัวชั่วคราวโดยจัดท�าโครงการพัฒนาระบบประเมินความเสี่ยงและก�ากับดูแล
20 | รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐