Page 19 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 19
บทสรุปเชิงบริหาร
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เริ่มต้นจัดท�ารายงานผลการประเมิน
สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐ โดยทบทวนเนื้อหาและ
สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙ พร้อมทั้งตรวจสอบสถานการณ์
ปัญหาเชิงโครงสร้าง ควบคู่กับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น และพิจารณาก�าหนดเนื้อหา
ส�าหรับการติดตามและประเมินสถานการณ์ในปี ๒๕๖๐ เป็น ๕ ส่วนหลัก ประกอบด้วย
๑๘ ประเด็นย่อย
กสม. ประสานงาน และใช้ข้อมูล ๒ ส่วนส�าคัญในการจัดท�ารายงาน ประกอบด้วย
ข้อมูลภายใน ได้แก่ เหตุการณ์ สถานการณ์ ข้อเท็จจริงตามกรณีร้องเรียน และ
การรับฟังความเห็นในการประชุม การสัมมนา หรือการประชุมกลุ่มเฉพาะ และข้อมูลภายนอก
ได้แก่ สถิติข้อมูลจากหน่วยงาน และองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องด้านการส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชนทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จ�านวน ๑๙ แห่ง การประชุมรับฟังข้อมูล
สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในภูมิภาค การประชุม/สัมมนาเพื่อรับฟังสถานการณ์และ
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ตลอดจนการจัดเวที กสม. พบประชาชนในภูมิภาค การติดตาม
สถานการณ์ของกลุ่มประเด็น การติดตามผลการด�าเนินงานตามกฎหมาย นโยบาย แผนงาน
และกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับรัฐบาล และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในด้านการพัฒนา การปฏิรูปสังคม และการเมืองของประเทศ
ในส่วนของการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมิน กสม. ใช้มาตรฐานที่ก�าหนดในเชิง
ตัวชี้วัด (indicator) และหลักเกณฑ์ (benchmark) ตามสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชน
และข้อเสนอแนะตามกลไกกฎบัตรแห่งสหประชาชาติ รวมถึงหลักการสิทธิมนุษยชนตามที่
บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมาย และนโยบายต่าง ๆ ภายใน
ประเทศเป็นส�าคัญ โดยน�าเสนอผลการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย
แบบสรุป ประกอบด้วย ๓ ส่วนหลัก คือ ภาพรวมการประเมินสถานการณ์ ปัญหาและ
อุปสรรค และข้อเสนอแนะซึ่ง มีรายละเอียด ดังนี้
ส่วนที่ ๑ การประเมินสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๖๐
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ซึ่งประกาศใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐ ได้รับรอง
คุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลไว้ในหมวดทั่วไป และก�าหนดรับรองสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยไว้
ในหมวด ๓ โดยวางหลักให้สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยนอกจากที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว การใดที่ไม่ได้ห้าม
ไว้ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่น และการนั้นไม่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
รวมถึงไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่นนั้น ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพกระท�าการนั้นได้โดยได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้
จากได้มีการทบทวนรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา พบว่า มีสิทธิบางอย่างที่เขียนไว้ในหมวดสิทธิและเสรีภาพแต่มิได้น�ามา
18 | รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐