Page 205 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 205

การประเมินสถานการณ์ ปัญหา และสาเหตุ



           ปัญหาและสาเหตุใน ๔ ประเด็นหลัก ดังนี้
                ๑. แม้ว่าจะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ซึ่งมีหลักการส�าคัญในมาตรา

           มาตรา ๔๑(๑) มาตรา ๔๓(๒) (๓) และมาตรา ๕๘ ที่คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจากการใช้อ�านาจของรัฐใน
           การด�าเนินกิจกรรมต่าง ๆ และได้บัญญัติให้การใช้บังคับสิทธิเสรีภาพนั้น ๆ สามารถด�าเนินการได้ทันที ตามเจตนารมณ์ของ
           รัฐธรรมนูญ โดยไม่ต้องรอให้มีการบัญญัติกฎหมายระดับพระราชบัญญัติเพื่ออนุวัติการให้เป็นไปไปตามรัฐธรรมนูญเรื่องนั้น ๆ
           แต่ในทางปฏิบัติ หน่วยงานรัฐส่วนใหญ่ ยังคงปฏิบัติหน้าที่โดยอาศัยกฎหมายระดับพระราชบัญญัติและกฎหมายล�าดับรอง

           อื่น ๆ ที่ใช้บังคับกับหน่วยงานนั้น ๆ โดยตรงเป็นเครื่องน�าทาง  เมื่อยังไม่มีกฎหมายลักษณะดังกล่าว เช่น เรื่องการมีส่วนร่วม
                                                          ๓๙๓
           ของประชาชนในกระบวนการด�าเนินโครงการของรัฐ การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการด�าเนินการของรัฐ และการ
           ประกอบการของเอกชนซึ่งเป็นผลจากการละเลย
           หรือบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงาน

           ของรัฐ จึงท�าให้ปัญหาการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ
           ของประชาชนในเรื่องดังกล่าว ยังคงด�ารงอยู่ต่อไป
           ดังจะเห็นได้ว่า ประเด็นเกี่ยวกับการขอให้หน่วยงาน
           ของรัฐจัดให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบมีส่วนร่วม

           ในระดับต่าง ๆ ในการด�าเนินโครงการของรัฐ และ
           ขอให้มีการชดเชยเยียวยาการด�าเนินการที่ก่อให้
           เกิดความเสียหายต่อประชาชน ยังคงเป็นประเด็น
           หลักในข้อเรียกร้องของประชาชน ๓๙๔

                ๒. นอกจากนี้ การที่รัฐบาลมีนโยบายการแก้ปัญหาเฉพาะด้าน เช่น นโยบายการแก้ไขปัญหาการลดลงของพื้นที่ป่า
           ด้วยการด�าเนินนโยบายทวงคืนผืนป่า การด�าเนินนโยบายพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อเร่งการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
           นโยบายเร่งผลผลิตด้านพลังงาน โดยขาดการบูรณาการร่วมกับมิติอื่น ๆ เช่น มิติด้านสิทธิมนุษยชน มิติด้านการพัฒนา
           ที่ยั่งยืน ท�าให้เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในหลายด้านตามมา

                ๓. ในกรณีโครงการของเอกชนโดยเฉพาะที่ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยรัฐซึ่งมีอ�านาจตามกฎหมาย เช่น การอนุญาต
           ก่อสร้างอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร การอนุญาตขุดดินถมดินตามกฎหมายว่าด้วยการขุดดินถมดิน
           การอนุญาตด�าเนินกิจการบ่อฝังกลบขยะหรือการออกใบอนุญาตประกอบกิจการอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
           เป็นต้น กลับมิได้มีกฎหมายหรือระเบียบที่ก�าหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอนในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนไว้

           ให้ชัดเจน จึงก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ ท�าให้ไม่บรรลุเจตนารมณ์ของหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการ
           ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมุ่งหมายให้หน่วยงานรัฐผู้อนุญาตต้องจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นเพื่อ
           น�าไปประกอบการพิจารณาว่าสมควรจะอนุญาตหรือไม่อย่างไร โดยหน่วยงานรัฐผู้มีอ�านาจอนุมัติอนุญาตให้เหตุผลว่า
           ไม่มีกฎหมายใดก�าหนดให้ต้องจัดให้มีการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการเปิดเผยข้อมูลหรือรับฟังความคิดเห็น ขณะที่

           ในทางหลักการเมื่อรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศรับรองเป็นให้เป็นสิทธิและเสรีภาพของประชาชนแล้ว
           ย่อมส่งผลผูกพันโดยตรงต่อหน่วยงานรัฐให้ต้องมีหน้าที่ทั้งการเคารพ การคุ้มครอง และการท�าให้สิทธิเสรีภาพนั้นเป็นจริง
                ๔. ในส่วนของการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการด�าเนินการตามนโยบายหรือโครงการต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน
           เนื่องจากกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติที่ใช้บังคับในเรื่องนั้น มิได้มีบทบัญญัติในเรื่องของการเยียวยาต่อผู้ได้รับผลกระทบ

           จึงท�าให้หลายหน่วยงานไม่สามารถให้การเยียวยาเมื่อเกิดความเสียหายได้โดยทันที แต่ผู้ได้รับผลกระทบต้องใช้สิทธิทาง


           ๓๙๓  ประมวลจากผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องร้องเรียนด้านสิทธิชุมชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
           ๓๙๔  ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (๒๕๖๐). ฐานข้อมูลเรื่องร้องเรียนด้านสิทธิชุมชน. สืบค้นจาก hris.nhrc.or.th


           204 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   200   201   202   203   204   205   206   207   208   209   210