Page 207 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 207
รับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียก่อน เพื่อน�ามาประกอบการพิจารณาด�าเนินการหรืออนุญาตตามที่กฎหมายบัญญัติ
และมาตรา ๒๗๘ ให้จัดท�าร่างกฎหมายตามมาตรา ๕๘ ให้แล้วเสร็จและเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติภายใน ๒๔๐ วัน
นับแต่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ และให้สภาฯ พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วันนับแต่วันได้รับร่าง รวมทั้งแนวทางการ
ตรากฎหมายโดยใช้หลักการวิเคราะห์ผลกระทบของกฎหมายตามมาตรา ๗๗ จึงควรที่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐจะได้
ด�าเนินการและติดตามให้มีการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัดต่อไป
๒. ก�าหนดให้รัฐเป็นผู้เยียวยาความเสียหายเบื้องต้นที่เกิดขึ้นต่อชุมชนหรือประชาชนอันเป็นผลจากการด�าเนิน
นโยบาย โครงการ หรือกิจกรรม หรือการอนุมัติ อนุญาตของรัฐ โดยการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษา
คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๓๕ ในหมวดว่าด้วยกองทุนสิ่งแวดล้อมให้มีวัตถุประสงค์ในการเยียวยาความเสียหายต่อ
ผู้ได้รับผลกระทบจากการด�าเนินโครงการของรัฐ หรือเอกชนที่ได้รับอนุมัติหรืออนุญาตจากรัฐ
๓. ข้อเสนอแนะต่อนโยบายทวงคืนผืนป่า
๓.๑ พิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันประกอบด้วย พระราชบัญญัติป่าไม้
พ.ศ. ๒๔๘๔ พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๔ พระราชบัญญัติ
สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้สอดคล้องกับหลักสิทธิในทรัพย์สิน (The Right of The First Taker) เพื่อความ
มั่นคงแห่งสถานภาพสิทธิของราษฎร โดยรับเอาแนวคิดเรื่องการพิสูจน์สิทธิในการอยู่อาศัยตามข้อเท็จจริงมากกว่า
การอาศัยเพียงเอกสารสิทธิของทางราชการเป็นเครื่องพิสูจน์สิทธิแต่เพียงอย่างเดียว
๓.๒ นโยบายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าไม้ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการก�าหนด เนื่องจากเป็นนโยบายสาธารณะ
ที่กระทบต่อส่วนรวม ประกอบกับราษฎรบางพื้นที่มีวิถีชีวิตและประเพณีดั้งเดิมเชื่อมโยงกับป่า ดังนั้น ควรให้ชุมชน
ดังกล่าวมีส่วนร่วมในการดูแลผืนป่าด้วย ควรมีการท�าความตกลงกับชุมชนในการบ�ารุงรักษาความสมดุลและยั่งยืนของ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในแต่ละท้องที่เป็นรายกรณี และอาจมีการก�าหนดเขตวัฒนธรรมพิเศษเพิ่มขึ้น
เพื่อคุ้มครอง วิถีชีวิตของชาติพันธุ์ต่าง ๆ โดยให้สิทธิและหน้าที่แก่ชุมชนในพื้นที่ที่จะบริหารจัดการทรัพยากรในบริเวณที่ก�าหนด
โดยภาครัฐจะต้องปรับเปลี่ยนบทบาทจากการเป็น “ผู้ปฏิบัติ” มาเป็น “ผู้ก�ากับดูแล” ติดตามประเมินผล และให้ค�าแนะน�า
ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหาชุมชนที่อยู่อาศัยในเขตป่า
206 | รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐