Page 206 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 206
บทที่ ๖ การประเมินสถานการณ์ด้าน
สิทธิมนุษยชนใน ๕ ประเด็นร่วม
ศาลในการให้ได้รับการชดเชยเยียวยา ไม่ว่าจะในรูปของค่าเสียหายที่เป็นตัวเงิน หรือการท�าให้สภาพแวดล้อมกลับคืนสู่
สภาพเดิม ซึ่งท�าให้เป็นภาระของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบในการน�าคดีขึ้นสู่ศาล ซึ่งต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการได้
รับการเยียวยาแก้ไขปัญหา ซึ่งปัญหาในลักษณะดังกล่าวยังไม่สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง
๓๙๕
และสิทธิทางการเมือง ข้อ ๒ ที่ก�าหนดให้บุคคลที่สิทธิเสรีภาพของตนถูกละเมิดตามกติกาต้องได้รับการเยียวยาอย่างเป็น
ผลจริงจัง และต้องได้รับการพิจารณาทั้งจากฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายตุลาการ
จากการประมวลสถานการณ์ด้านสิทธิชุมชน
และการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในปี พ.ศ.
๒๕๖๐ จะเห็นได้ว่าประเด็นหลักของการละเมิด
สิทธิมนุษยชนในประเด็นสิทธิชุมชนและสิทธิในการ
จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังคง
เป็นเรื่องสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชน ตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๖๐ ตั้งแต่การได้รับข้อมูลข่าวสาร ค�าชี้แจงจาก
หน่วยงานรัฐ การมีส่วนในการแสดงความคิดเห็น
ตลอดจนการมีส่วนในการตัดสินใจและจัดการ
โครงการ ตลอดจนสิทธิในการได้รับการเยียวยาที่
เหมาะสมจากรัฐเมื่อได้รับผลกระทบจากโครงการ
หรือการด�าเนินการของรัฐ
ข้อเสนอแนะ
๑. เพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการด�าเนินโครงการหรือการใช้อ�านาจของหน่วยงาน
รัฐในการออกใบอนุญาตอันอาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต
หรือส่วนได้เสียส�าคัญอื่นใดของประชาชนหรือชุมชนหรือสิ่งแวดล้อม จึงมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
๑.๑ ควรมีการตรากฎหมายกลางก�าหนดหลักเกณฑ์ กระบวนการและขั้นตอนการมีส่วนร่วมของประชาชน
ตามมาตรา ๔๑ (๑) มาตรา ๔๓ (๒) (๓) และมาตรา ๕๘ โดยก่อนที่หน่วยงานรัฐจะด�าเนินโครงการหรือออกใบอนุญาต
อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียส�าคัญอื่นใด
ของประชาชน หรือชุมชน หรือสิ่งแวดล้อม จะต้องจัดให้มีการมีส่วนร่วมของประชาชนหรือผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายดังกล่าว
ก่อนการด�าเนินโครงการหรืออนุญาต
๑.๒ ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายกลางในลักษณะดังกล่าวบังคับใช้ หน่วยงานระดับกระทรวง หรือระดับกรม ที่มี
อ�านาจหน้าที่ในการก�ากับดูแลหน่วยงานอนุมัติอนุญาต หรือเจ้าพนักงานผู้มีอ�านาจในการอนุมัติอนุญาต ควรออกกฎหมาย
ล�าดับรอง เช่น ระเบียบ ประกาศ ก�าหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและขั้นตอนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในลักษณะเดียวกับ
ระเบียบกระทรวงอุตสาหกรรมว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการพิจารณาออกใบรับแจ้งการประกอบ บทที่
๖
กิจการโรงงาน ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานและใบอนุญาตขยายโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๕
ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๕๘ ได้บัญญัติให้การด�าเนินการใด ๆ ของรัฐ
หรือที่รัฐจะอนุญาตให้ผู้ใดด�าเนินการ ถ้าการนั้นอาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ
อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียส�าคัญอื่นใดของประชาชนหรือชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง รัฐต้องด�าเนิน
การให้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนชนหรือชุมชน และจัดให้มีการ
๓๙๕ ดูตัวอย่างจากกรณีการฟ้องคดีเพื่อเรียกค่าเสียหายในคดีเหมืองแร่ตะกั่วคลิตี้ ค�าพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๒๑๙/๒๕๕๘.
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 205