Page 204 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 204

บทที่ ๖ การประเมินสถานการณ์ด้าน
                                                                                             สิทธิมนุษยชนใน ๕ ประเด็นร่วม



            การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอของทั้ง ๒ โครงการ เป็นข้อมูลที่มีการศึกษามานานกว่า ๑๐ ปี จึงท�าให้
            มาตรการลดผลกระทบไม่สอดคล้องสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน สภาพสังคม และชุมชนในปัจจุบัน ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไป
            จากอดีตเมื่อ ๑๐ ปีที่แล้วอย่างมาก และการจัดการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในขั้นตอนการจัดท�า
            รายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมไม่ทั่วถึง กสม. เห็นว่าการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของประชาชนโดยเฉพาะพื้นที่

            บริการทางหลวง (Service Area) บริเวณต�าบลดอนแฝก อ�าเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม (กม.๑๙+๕๐๐) ซึ่งใช้พื้นที่ถึง
            ๑๔๐ - ๒๐๐ ไร่นั้น เป็นการเวนคืนที่ดินเกินความจ�าเป็น นอกจากนั้น การจ่ายค่าทดแทนการเวนคืนควรอยู่บนหลักการว่า
            ค่าทดแทนและความช่วยเหลือด้านอื่น ๆ ต้องเพียงพอให้ประชาชนผู้ถูกเวนคืนสามารถด�าเนินชีวิตต่อไปได้โดยไม่ด้อย
            ไปกว่าก่อนการถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์



                  ๒.๕ กรณีการประกอบกิจการเหมืองแร่
                      กิจการเหมืองแร่เป็นกิจการที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน ทั้งนี้ ที่ผ่านมา
            ส่วนใหญ่เป็นการร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเด็นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งเป็นผู้ที่อาจได้รับ

            ผลกระทบจากการประกอบกิจการเหมืองแร่โดยตรงและผู้มีส่วนได้เสียในการออกใบอนุญาตอาชญาบัตร ประทานบัตร
            หรือใบอนุญาตประกอบโลหะกรรม ปัญหาส�าคัญคือกระบวนการรับฟังความคิดเห็นไม่เป็นหลักการของการรับฟัง
            ความคิดเห็นที่ดี บางกรณีไม่เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง  และแม้ว่าจะมีประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติแร่
                                                                     ๓๙๑
            พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งเป็นการแก้ไขกฎหมายฉบับเก่าเพื่อให้มีกระบวนการลดผลกระทบที่เกิดจากการประกอบกิจการเหมืองแร่

            มากขึ้น และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการอนุมัติอนุญาตได้มากขึ้น แต่ก็ได้เพิ่มเติมให้การประกอบกิจการสามารถ
            กระท�าได้ในพื้นที่อนุรักษ์ต่าง ๆ เช่นป่าอนุรักษ์


            ๓. สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ

                  กระทรวงอุตสาหกรรมได้รายงานสถิติเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการได้รับความเดือดร้อนจากการประกอบการหรือการ
            ประกอบอุตสาหกรรมในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ว่า มีเรื่องร้องเรียนต่อกระทรวงอุตสาหกรรมทั้งสิ้น ๗๐๔ เรื่อง ประกอบด้วย
            มลพิษเกี่ยวกับ ฝุ่นละออง เสียงดัง น�้าเสีย กลิ่นเหม็น ดินเค็ม สารเคมี ฯลฯ ๓๙๒




















                                                                                                                  บทที่
                                                                                                                   ๖










            ๓๙๑  อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ ๔๒๓
            ๓๙๒  รายงานสถิติจ�านวนเรื่องร้องเรียนของกระทรวงอุตสาหกรรม ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐. หนังสือตอบของกระทรวงอุตสาหกรรมทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน
                ๒๕๖๐.


                                                                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 203
   199   200   201   202   203   204   205   206   207   208   209