Page 209 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 209

(Mr. Michel Forst) ผู้รายงานพิเศษเรื่องนักปกป้องสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ที่กรุงเทพมหานคร ต่อมาปรากฏว่า
           เจ้าหน้าที่ต�ารวจได้น�าก�าลังเข้าตรวจค้นบ้านของนายไมตรีฯ โดยเรื่องดังกล่าวนี้ กสม. ได้รับเป็นเรื่องร้องเรียนการตรวจ
                                                           ๔๐๒
           สอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน (ค�าร้องที่ ๒๑๕/๒๕๖๐) กรณีการฟ้องร้องนักปกป้องสิทธิมนุษยชน พบว่ามีเหตุการณ์สมาชิก
           กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด จังหวัดเลยได้ถูกยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดเลย ในข้อหาฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ

           พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นคดีอาญาหมายเลขด�าที่ ๒๕๘/๒๕๖๐  อนึ่ง กรณีการฟ้องนักสิทธิมนุษยชนในปี ๒๕๕๙ จ�านวน ๓ คน
                                                       ๔๐๓
           คือ นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อ�านวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม นายสมชาย หอมลออ ที่ปรึกษามูลนิธิผสาน
           วัฒนธรรม และนางสาวอัญชนา หีมมิหน๊ะ ประธานกลุ่มด้วยใจ ฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา จากกรณีจัดท�ารายงาน
           ประเมินสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย�่ายีศักดิ์ศรีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

           เมื่อปี ๒๕๕๗ - ๒๕๕๘ นั้น ต่อมาได้มีการหารือร่วมกันระหว่างผู้แทนพิเศษรัฐบาล ผู้แทนกองอ�านวยการรักษาความมั่นคง
           ภายใน ภาค ๔ ส่วนหน้า และเครือข่ายนักสิทธิมนุษยชน ในประเด็นการแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาคใต้ โดยได้
           ข้อสรุปว่าจะถอนฟ้องคดีนักสิทธิมนุษยชนทั้ง ๓ คน
                                                     ๔๐๔































           การประเมินสถานการณ์ ปัญหาและอุปสรรค


                เป็นที่ยอมรับในสากลว่านักปกป้องสิทธิมนุษยชนมีความส�าคัญต่อการส่งเสริมและต่อสู้เพื่อให้เกิดการคุ้มครอง

           สิทธิมนุษยชน และในประเทศไทยก็ได้มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ที่ออกมาแสดงออกในฐานะนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
           ไม่ว่าจะเป็นประเด็นด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือด้านสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับ
           การใช้อ�านาจรัฐ เมื่อพิจารณาสถานการณ์เกี่ยวกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้วเห็นว่า  กรณีที่
           นักปกป้องสิทธิมนุษยชนเผชิญกับปัญหาอุปสรรคในการต่อสู้ ปกป้อง เรียกร้องเพื่อสิทธิและเสรีภาพของตนเองและบุคคลอื่น

           เป็นสถานการณ์ที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการได้รับผลกระทบจากการใช้กลไกทางกฎหมายในการฟ้อง
           ด�าเนินคดีกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน หรือการใช้ก�าลังของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยว่าเป็นไป
           โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งอาจถือได้ว่าหลักการตามกติกา ICCPR และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิและความรับผิดชอบ
           ของปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์กรของสังคมในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน

           (Declaration on Human Rights Defenders) ซึ่งเป็นที่ยอมรับในสากลยังไม่ได้รับการยอมรับหรือปฏิบัติมากนัก

           ๔๐๒  ประชาไท .(๒๕๖๐). เครือข่ายนักปกป้องสิทธิฯ ร้องผู้รายงานพิเศษ UN เผยหลังรัฐประหารถูกคุกคามหลายร้อยกรณี. สืบค้นจาก http://prachatai.com/journal/2017/05/71704
           ๔๐๓  ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน.(๒๕๖๐). ๗ สมาชิกหญิงกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดพร้อมสู้คดี หลังอัยการยื่นฟ้อง พรบ.ชุมนุมฯ. สืบค้นจาก www.tlhr2014.com/th/?p=4731
           ๔๐๔  ไทยพีบีเอส. (๒๕๖๐). กอ.รมน. ภาค ๔ ส่วนหน้า ประกาศถอนฟ้อง ๓ นักสิทธิมนุษยชน. สืบค้นจาก www.thaipbs.or.th/content/260703


           208 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214