Page 201 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 201
และผู้ไร้ที่ดินท�ากินจ�านวนมาก ซึ่งได้อาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมนั้น ๆ ได้รับผลกระทบจากการด�าเนินการตามนโยบายดังกล่าว เฉพาะ
เรื่องร้องเรียนที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ มีทั้งสิ้น ๔๙ ค�าร้อง ๓๘๖
ด้านการเยียวยาและลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนอันเกิดจากนโยบายทวงคืนผืนป่า ในปี ๒๕๕๙ รัฐบาลได้จัดตั้ง
คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ
โดยมีหลักการการจัดที่ดินท�ากินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาลในลักษณะแปลงรวม มิให้กรรมสิทธิ์ แต่อนุญาตให้เข้าท�า
ประโยชน์ในที่ดินของรัฐเป็นกลุ่มหรือชุมชน ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติก�าหนด
ในรูปแบบสหกรณ์หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ มีพื้นที่เป้าหมายการด�าเนินงานทั้งสิ้น ๘๐ พื้นที่
๔๗ จังหวัด เนื้อที่ประมาณ ๓๒๕,๒๐๕ ไร่
๒.๒ การทวงคืนพื้นที่สาธารณะ
นอกจากนโยบายทวงคืนผืนป่า รัฐยังมีนโยบายการทวงคืนพื้นที่ที่หน่วยงานรัฐครอบครองดูแล
เช่น ที่สาธารณประโยชน์ ที่ราชพัสดุ ซึ่งด�าเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปี ๒๕๖๐ โดยมีกรณีส�าคัญ ดังนี้
กรณีชุมชนแสมสารจังหวัดชลบุรี
กรณีพิพาทระหว่างฐานทัพเรือสัตหีบ
กับชุมชนแสมสารเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อมานาน โดย
ฐานทัพเรือสัตหีบได้แจ้งความด�าเนินคดีกับราษฎร
รวมทั้งสิ้น ๗๑ ราย ข้อหาบุกรุกที่ดินของรัฐ รวม
ทั้งให้ราษฎรในพื้นที่ต�าบลแสมสารไปด�าเนินการ
เช่าที่ดินจากกรมธนารักษ์ รวมทั้งให้รื้อถอนบ้าน
เรือนและสิ่งปลูกสร้างบางส่วนออกไปจากพื้นที่ ซึ่ง
ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนจ�านวนมาก
ราว ๖,๐๐๐ ราย
๓๘๗
กรณีชุมชนป้อมมหากาฬ
กรณีพิพาทระหว่างกรุงเทพมหานครกับชุมชนป้อมมหากาฬเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อมากว่า ๒๐ ปี โดยล่าสุด
กรุงเทพมหานครยืนยันให้ชุมชนจ�านวนประมาณ ๔๕ หลัง ย้ายออกไปจากที่ดิน รวมทั้งรื้อถอนอาคารและสิ่งปลูกสร้าง โดย
ชุมชนเรียกร้องขอให้ด�าเนินการตามแผนแม่บทพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต ตามที่กรุงเทพมหานครร่วมกับชุมชนป้อมมหากาฬและ
มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ด�าเนินการศึกษาและออกแบบไว้ อย่างไรก็ตาม กรุงเทพมหานครแจ้งว่าจะต้องด�าเนินการก่อสร้าง
สวนสาธารณะต่อไป เนื่องจากต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ก�าหนดให้ต้องใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืน ภายหลัง
การเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาระหว่างกรุงเทพมหานครและชุมชน มีผู้ยินยอมให้รื้อถอนอาคารไปแล้วจ�านวน ๑๕ ราย ขณะ
ที่ชุมชนอีกจ�านวน ๓๕ ครอบครัวยืนยันที่จะอยู่ร่วมกับสวนสาธารณะต่อ่ไป ๓๘๘
สาเหตุการทวงคืนพื้นที่ อาจมีความเชื่อมโยงกับเรื่องอื่น ๆ ด้วย เช่น การน�าพื้นที่ไปใช้ในการพัฒนาภาคธุรกิจ เช่น
การน�าไปให้เอกชนเช่าประกอบกิจการหรืออุตสาหกรรม หรือน�าไปใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน เป็นต้น
ตัวอย่างที่ชัดเจนในกรณีนี้คือ การจับกุมและด�าเนินคดีกับประชาชนจ�านวน ๒๙ ราย ข้อหาบุกรุกที่ดินสาธารณะภูกระแต
บ้านไผ่ล้อม อ�าเภออาจสามารถ จังหวัดนครพนม เพื่อน�าพื้นที่ดังกล่าวไปใช้จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ
๓๘๖ ฐานข้อมูลเรื่องร้องเรียน ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
๓๘๗ ฐานข้อมูลเรื่องร้องเรียน คณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
๓๘๘ ฐานข้อมูลเรื่องร้องเรียน คณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
200 | รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐