Page 200 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 200

บทที่ ๖ การประเมินสถานการณ์ด้าน
                                                                                             สิทธิมนุษยชนใน ๕ ประเด็นร่วม



                      ข. ค�าพิพากษาฎีกา กรณีชดใช้ค่าเสียหายให้กับประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการปล่อยสารตะกั่วลงล�าห้วยคลิตี้
            เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๐ ศาลฎีกานัดฟังค�าพิพากษากรณีชาวบ้าน ๑๕๑ คน ยื่นฟ้องบริษัทตะกั่วคอนเซนเตรท
            (ประเทศไทย) ฐานละเมิดตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ปล่อยปละ
            ละเลยให้สารตะกั่วปนเปื้อนลงในล�าห้วยคลิตี้ ซึ่งชาวบ้านใช้อุปโภคบริโภค เป็นผลให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ

            และการใช้ชีวิต โดยให้จ่ายค่าชดเชยให้ชาวบ้าน คลิตี้ล่างจ�านวนกว่า ๓๖ ล้านบาท พร้อมกับมีค�าพิพากษาเพิ่มเติมให้
            ผู้จัดการบริษัท กรรมการบริษัทรวม ๗ คนต้องมาร่วมรับผิดชอบ รวมทั้งต้องเข้ามาฟื้นฟูล�าห้วยคลิตี้ที่ปนเปื้อนสารตะกั่ว
            ค�าพิพากษาของศาลฎีกายังเพิ่มเติมมุมมองที่ว่า ชาวบ้าน ๑๕๑ คน จากสมาชิกทั้งชุมชน ๓๐๐ คน ที่ร่วมกันฟ้องให้บริษัท
            ฟื้นฟูล�าห้วย ถือเป็นการฟ้องกลุ่มใหญ่ เป็นการเรียกร้องเพื่อประโยชน์สาธารณะ เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ชาวบ้านที่

            อยู่กันมานานถือเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม มีสิทธิมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรได้ และสามารถขอให้ศาลสั่งให้
            จ�าเลยทั้ง ๗ คน ฟื้นฟูล�าห้วยคลิตี้ให้ปราศจากมลพิษ ให้ค่ามาตรฐานเป็นไปตามที่หน่วยงานรัฐก�าหนด นอกจากนี้
            ศาลฎีกาเห็นว่ากรรมการของบริษัทต้องร่วมรับผิดเป็นการส่วนตัว ถือเป็นคนที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ซึ่งก่อนหน้านี้กรรมการ
            ของบริษัทซึ่งเป็นจ�าเลยในคดีอ้างว่าไม่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของบริษัท แต่ค�าพิพากษาของศาลฎีกาเห็นว่า กรรมการ

            บริษัทต้องรับผิดด้วย


                  ๑.๕ แผนปฏิรูปประเทศ
                      รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๕๘ ได้บัญญัติให้มีการด�าเนินการปฏิรูปประเทศ

            ในด้านต่าง ๆ โดยให้มีพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่
            ๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ
            รวม ๑๑ ด้าน รวมทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยคณะกรรมการฯ อยู่ในระหว่างจัดท�าแผนปฏิรูปประเทศ
            เพื่อเป็นกรอบแนวทางการด�าเนินการของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ส�าหรับแผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติ

            และสิ่งแวดล้อมก�าหนดแผนปฏิรูปเป็น ๖ ด้าน ได้แก่ ทรัพยากรทางบก ทรัพยากรทางน�้า ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
            ความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งแวดล้อม และระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมีกรอบแนวคิด
            การจัดท�าแผน ประกอบด้วย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ร่างยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนา
            เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)



            ๒. สถานการณ์ด้านการด�าเนินการของหน่วยงานรัฐ
                  ๒.๑ การด�าเนินการอันเป็นผลจากนโยบายการทวงคืนผืนป่า
                      จากการติดตามสถานการณ์ผลกระทบจากนโยบาย

            ทวงคืนผืนป่าซึ่งเป็นการด�าเนินการที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.
            ๒๕๕๗ ยังคงมีการด�าเนินการตามนโยบายดังกล่าวใน
            ปี ๒๕๖๐ โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
            มีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้ได้ร้อยละ ๔๐  ภายในระยะ
                                              ๓๘๔
            ๒๐ ปี จึงท�าให้มีการเร่งด�าเนินการให้ประชาชนที่อยู่อาศัย                                              บทที่
                                                                                                                   ๖
            และท�ากินในเขตป่าออกจากพื้นที่ป่า โดยการตรวจยึดพื้นที่
            การตัดฟันต้นยางพาราและรื้อถอนผลอาสิน บ้านเรือน
            การแจ้งความด�าเนินคดี รวมถึงการเร่งรัดประกาศเขต

            พื้นที่อนุรักษ์เพิ่มเติม  จึงพบว่า ผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย
                             ๓๘๕
            ๓๘๔  แผนยุทธศาสตร์กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๕๖-๒๕๖๔ จัดท�าโดย ส�านักนโยบายและยุทธศาสตร์ ส�านักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
            ๓๘๕  สถิติจากส�านักป้องกันและรักษาป่าและควบคุมไฟป่า กรมป่าไม้ เกี่ยวกับคดีการกระท�าผิดกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ กรมป่าไม้ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ เฉพาะคดีบุกรุกพื้นที่ป่า
                มีจ�านวน ๓,๑๓๙ คดี.


                                                                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 199
   195   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205