Page 198 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 198

บทที่ ๖ การประเมินสถานการณ์ด้าน
                                                                                             สิทธิมนุษยชนใน ๕ ประเด็นร่วม



            ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น สิทธิในการจัดการ บ�ารุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สิทธิ
            ในการเข้าชื่อเสนอต่อหน่วยงานรัฐเพื่อด�าเนินการใด ๆ และสิทธิในการจัดให้มีระบบสวัสดิการชุมชน โดยการเข้าร่วมกับ
            รัฐหรือองค์กรปกครองท้องถิ่น
                  นอกจากนั้น ยังก�าหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน ชุมชน มีส่วนร่วมในการ

            ด�าเนินการของรัฐในโครงการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือมีผลกระทบต่อประชาชนหรือชุมชน ทั้งในเรื่องการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
            การแสดงความคิดเห็น และการด�าเนินการโครงการนั้น ๆ และหากเกิดความเสียหายหรือมีผลกระทบอย่างใด ๆ รัฐต้อง
            จัดให้มีการเยียวยาความเดือดร้อนเสียหายนั้นอย่างเป็นธรรมโดยไม่ชักช้า (มาตรา ๕๗ มาตรา ๕๘ )
                  อย่างไรก็ตาม การยกเลิกบทบัญญัติสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยหลายประการ รวมทั้งสิทธิชุมชนซึ่งเดิมเคย

            บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
            ๒๕๕๐ และน�าไปบัญญัติไว้เป็นหน้าที่รัฐ เพื่อให้รัฐมีหน้าที่ด�าเนินการเรื่องเหล่านั้นให้แก่ประชาชน โดยประชาชนมิต้อง
            อ้างใช้สิทธิในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่รัฐไม่ท�าหน้าที่ ประชาชนสามารถฟ้องคดีต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรง หรือ
            ร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ว่าเกี่ยวข้องจงใจไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญก็ได้นั้น

            แม้จะมีผลผูกพันให้รัฐต้องมีหน้าที่ แต่การเปลี่ยนหลักการบัญญัติรัฐธรรมนูญในลักษณะดังกล่าว ยังเป็นข้อสงสัยว่าจะท�าให้
            การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในทางปฏิบัติ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นหรือไม่


                  ๑.๒ ข้อสังเกตโดยสรุปของคณะกรรมการประจ�ากติกา ICCPR

                      คณะกรรมการประจ�ากติกา ICCPR ได้มีข้อสังเกตสรุปรวม (Concluding Observations) ต่อประเทศไทย ในการ
            ประชุมเพื่อรับฟังรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย รอบที่สอง   ในข้อ ๗ เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและ
                                                                               ๓๘๐
            กรอบทางกฎหมายว่า การออกค�าสั่งหัวหน้า คสช. โดยอาศัยอ�านาจตามมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
            ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช ๒๕๕๗ จะต้องเคารพต่อกติกา ICCPR และจะต้องมีการเยียวยาผู้เสียหายที่ได้รับผลจากค�าสั่ง

            ดังกล่าวอย่างจริงจัง กรณีมีการกระท�าที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นผลจากค�าสั่งดังกล่าว


                  ๑.๓ กฎหมายที่กระทบต่อสิทธิชุมชนและการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
                      ก. พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน�้าไทย (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๖๐

                         ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ
            การเดินเรือในน่านน�้าไทย (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ เมื่อ
            เดือนมกราคม ๒๕๖๐ โดยมาตรา ๑๘ ก�าหนดให้เจ้าของ
            เรือหรือผู้ครอบครองสิ่งปลูกสร้างที่ล่วงล�้าล�าน�้า แจ้งถึง

            ทรัพย์สินดังกล่าวของตนภายใน ๑๒๐ วัน และต้องขอรับใบ
            อนุญาตตลอดจนช�าระค่าปรับในอัตรา ๕๐๐ - ๑๐,๐๐๐ บาท
            และต้องเสียค่าตอบแทนเป็นรายปี ท�าให้กระทบต่อชุมชน
            ริมน�้า  ตลอดจนประชาชนที่ประกอบอาชีพประมง

            โดยเฉพาะประมงเรือเล็กเป็นจ�านวนมาก (เฉพาะที่ ต�าบลหาดเล็ก                                             บทที่
                                                                                                                   ๖
            อ่าวตราด จังหวัดตราด พบว่ามีพื้นที่ชุมชนชายฝั่ง ๘๑,๒๒๔ ตารางเมตร ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ๓,๗๑๘ คน
            ๕๑๘ ครัวเรือน) ชุมชนหลายแห่งเป็นชุมชนดั้งเดิมที่ประกอบอาชีพประมงชายฝั่ง และลักษณะของวิถีชีวิตจ�าเป็นต้องตั้ง
            บ้านเรือนริมน�้า โดยรัฐบาลยังไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการพิจารณาอนุญาต และไม่มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ได้รับ

            ผลกระทบ ก่อนการออกกฎหมายดังกล่าว อีกทั้งยังไม่มีการก�าหนดมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน ๓๘๑


            ๓๘๑  ในการประชุมครั้งที่ ๓๔๔๙ และ๓๔๕๐ เมื่อวันที่ ๑๓-๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐ และครั้งที่ ๓๓๖๔ เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐.
            ๓๘๒  รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ ๖๗๔/๒๕๖๐ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.


                                                                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 197
   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202   203