Page 197 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 197

เมียนเจย (Oddar Meanchey) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชา ไปผลักดันให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
                ๓.  รัฐควรเป็นตัวอย่างที่ดีของภาคธุรกิจในการด�าเนินการบนหลักการสิทธิมนุษยชน  โดยควร
           น�าร่องในการน�าหลักการตรวจสอบผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (HRDD) มาใช้ในกิจการที่รัฐเป็นเจ้าของ
           หรือรัฐเป็นผู้ก�ากับดูแล เช่น รัฐวิสาหกิจ เป็นต้น

                ๔. รัฐควรเพิ่มกลไกที่ท�าให้ผู้ได้รับผลกระทบจากการด�าเนินธุรกิจสามารถเข้าถึงการแก้ไข เยียวยา ฟื้นฟูที่มี
           ประสิทธิผล ทั้งกลไกตามกระบวนการยุติธรรมและกลไกอื่น ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการ UNGPs และควรพิจารณาให้มี
           รูปแบบของการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการของรัฐหรือรัฐเป็นผู้ก�ากับดูแลที่มีความหลากหลาย อาทิ การกลับคืน
           สู่สภาพเดิม (restitution) การจ่ายค่าสินไหมทดแทน (compensation) การฟื้นฟู (rehabilitation) การท�าให้พอใจ

           (satisfaction) และการประกันว่าจะไม่เกิดการละเมิดซ�้า (guarantees of non-repetition) เพื่อให้สอดคล้องกับหลัก
           การพื้นฐานและแนวทางว่าด้วยสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาและชดใช้ความเสียหายส�าหรับเหยื่อของการละเมิดกฎหมาย
           สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอย่างรุนแรงกว้างขวาง และการละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างรุนแรง
           (Basic Principles and Guidelines on the Right to a Remedy and Reparation for Victims of Gross Violations

           of International Human Rights Law and Serious Violations of International Humanitarian Law)
                ๕. รัฐควรให้ความช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กในการน�าหลักการชี้แนะฯ ไปใช้ โดยไม่สร้างภาระด้าน
           ต้นทุนเพิ่ม
                ๖. รัฐควรพิจารณาให้ความส�าคัญกับการวิเคราะห์ช่องว่างการด�าเนินการของรัฐตามหลักการชี้แนะฯ เพื่อให้แผน

           ปฏิบัติการชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนที่จะจัดท�าขึ้น มีความสอดคล้องกับแนวปฏิบัติสากล และสามารถเป็นเครื่องมือ
           ในการคุ้มครองมิให้เกิดผลกระทบด้านลบจากการด�าเนินธุรกิจได้อย่างแท้จริง


























           ๖.๔ สิทธิชุมชนและการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม



           ภาพรวม



           ๑. สถานการณ์ด้านกฎหมายและนโยบาย
                ๑.๑ การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐

                     รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้วางหลักการเกี่ยวกับสิทธิของชุมชน และสิทธิในการจัดการ
           ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้ ในมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๕๑ ในเรื่องของสิทธิรับทราบและเข้าถึง
           ข่าวสารสาธารณะ เสนอเรื่องราวร้องทุกข์ และฟ้องหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้รับผิด สิทธิในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู



           196 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202