Page 195 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 195

นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ประกอบการที่ให้ความส�าคัญและน�ามาตรฐานสากลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนมาใช้ มักจะเป็น
           ผู้ประกอบการรายใหญ่หรือเคยเป็นผู้ประสบปัญหาจากการด�าเนินการที่ส่งผลกระทบด้านลบอย่างรุนแรงต่อบริษัทมาก่อน
           และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เนื่องจากได้มีหลักการก�ากับดูแลกิจการ
           ที่ดีส�าหรับบริษัทจดทะเบียน ยกตัวอย่างเช่น การประกาศให้ใช้แนวปฏิบัติเรื่องแรงงาน (Practices Guideline on Labour)

           ที่สอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน รับรองหลักการความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพ โดยมีการก�าหนดวิธีการปฏิบัติที่ชัดเจน
           ส�าหรับบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ การจัดตั้งศูนย์ธรรมาภิบาล (CG Center) ขึ้น เพื่อก�าหนดการด�าเนินการ
           ให้บริษัทมีธรรมาภิบาล การออกหลักการก�ากับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance Code: CG Code) ฉบับใหม่
           เพื่อเป็นแนวทางส�าหรับคณะกรรมการบริษัทจดทะเบียนในการปฏิบัติหน้าที่ โดยมุ่งหวังให้กิจการมีผลประกอบการที่ดี

           โดยค�านึงถึงความต่อเนื่องในระยะยาว มีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนได้เสีย สังคม และสิ่งแวดล้อม
           ตลอดจนสามารถปรับตัวได้ภายใต้การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ  ทั้งนี้ พบว่า ปัจจุบันร้อยละ ๗๖ ของบริษัทที่จดทะเบียนใน
                                                          ๓๗๘
           ตลาดหลักทรัพย์ได้มีการประกาศนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทแล้ว
                ในส่วนของการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนจากการด�าเนินโครงการทั้งของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และ

           ภาคธุรกิจ นั้น พบว่า ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจโดยเฉพาะกับกรณีที่เกิดขึ้นกับโครงการที่ส่งผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
           กับประชาชนจ�านวนมาก การเยียวยามักเป็นผลจากกระบวนการทางยุติธรรม เช่น ผลจากค�าพิพากษาของศาล ซึ่งมักใช้
           ระยะเวลานาน เป็นภาระแก่ผู้ได้รับผลกระทบในการพิสูจน์ความเสียหาย และมักเกิดขึ้นในรูปแบบของการเยียวยาด้าน
           การเงิน อย่างไรก็ดี บางกรณีศาลก็ได้มีค�าพิพากษาให้มีการเยียวยาในรูปแบบอื่นนอกเหนือจากการเยียวยาด้านการเงิน อาทิ

           กรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีสิ่งแวดล้อมได้มีค�าพิพากษาเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๐ กรณีชาวบ้านคลิตี้ที่ได้รับผลกระทบ
           จากการท�าเหมืองแร่ โดยให้บริษัทคู่ความต้องฟื้นฟูล�าห้วยคลิตี้ให้กลับมาใช้ได้ดังเดิม นอกเหนือจากการชดใช้ค่าเสียหาย
           จ�านวน ๓๖ ล้านบาท ๓๗๙


           การประเมินสถานการณ์ ปัญหา และอุปสรรค



                ในปี ๒๕๖๐ เห็นได้ว่า รัฐได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและมีความก้าวหน้าในการด�าเนินการเพื่อป้องกันและแก้ไข
           ปัญหาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากการด�าเนินการของภาคธุรกิจอย่างต่อเนื่อง อาทิ

                -  การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหลายฉบับ อาทิ พระราชก�าหนดการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ พระราชก�าหนด
                   การบริหารจัดการการท�างานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐
                -  การแสดงเจตจ�านงทางการเมืองของนายกรัฐมนตรีในการขับเคลื่อนหลักการชี้แนะฯ รวมไปถึงการมีบัญชาให้
                   คณะกรรมการนโยบายและก�ากับดูแลรัฐวิสาหกิจขับเคลื่อนให้รัฐวิสากิจน�าหลักการชี้แนะฯ ไปใช้

                -  การมีมาตรการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจน�ามาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชน เช่น ประกอบการจัดท�าแนวปฏิบัติการใช้
                   แรงงานที่ดี (Good Labour Practices : GLP) อย่างต่อเนื่อง
                -  การด�าเนินการอย่างเป็นล�าดับเพื่อให้เกิดแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนขึ้นเพื่อเป็น
                   เครื่องมือในการน�าหลักการชี้แนะฯ ไปใช้

                อย่างไรก็ดี ในบริบทของภาคธุรกิจ นั้น แม้ภาคธุรกิจจะมีความตื่นตัวเรื่องสิทธิมนุษยชนมากขึ้น แต่ภาคธุรกิจที่มี
           ความตื่นตัวจนถึงขั้นที่น�ามาตรฐานสากลด้านสิทธิมนุษยชนมาใช้กับกิจการของตนยังจ�ากัดอยู่ในบริษัทขนาดใหญ่ บริษัท
           ที่เคยได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน หรือบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์





           ๓๗๘  ประชาชาธุรกิจ. (๒๕๖๐). “หลักการก�ากับดูแลกิจการที่ดี” (CG Code) ฉบับใหม่ ก้าวย่างส�าคัญของตลาดทุนไทยสู่ความยั่งยืน. สืบค้นจาก www.prachachat.net/news_detail.
              php?newsid=1491030960
           ๓๗๙  บีบีซีนาวิเกชัน. (๒๕๖๐). คลิตี้ : เรื่องเก่าที่สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของคดีสิ่งแวดล้อมชุมชน. สืบค้นจาก www.bbc.com/thai/thailand-41225292


           194 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200