Page 193 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 193
อย่างไรก็ดี คณะรัฐมนตรีมีเพียงมติรับทราบเท่านั้น มิได้มีข้อสั่งการให้หน่วยงานน�าข้อเสนอดังกล่าวไปปฏิบัติแต่
อย่างใด
การส่งเสริมให้มีการน�าหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UNGPs) มาใช้
รัฐบาลมีการส่งเสริมให้น�าหลักการชี้แนะฯ มาใช้
โดยเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ นายกรัฐมนตรีได้
แสดงเจตจ�านงทางการเมืองส�าคัญ ในงานสัมมนาวิชาการ
ระดับชาติ เรื่อง “การเผยแพร่และการขับเคลื่อนหลักการ
ชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติใน
ประเทศไทย” ที่จัดขึ้นโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ โดยกล่าวสนับสนุน
ให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และทุกภาคส่วนของสังคมปฏิบัติ
ตามหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของ
สหประชาชาติ (UNGPs) นอกจากนี้ ในงานดังกล่าวยังมี
การลงนามใน “ปฏิญญาความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติใน
ประเทศไทย” โดยประธาน กสม. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรี
ช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กรรมการ
สมาคมธนาคารไทย และประธานเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กประเทศไทย โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นสักขีพยาน
ถือเป็นการแสดงเจตจ�านงทางการเมืองที่ส�าคัญของผู้น�าประเทศต่อเรื่องดังกล่าวในการขับเคลื่อนประเด็นธุรกิจกับ
สิทธิมนุษยชนภายใต้หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UNGPs) และต่อมา นายกรัฐมนตรี
ได้มีบัญชาให้คณะกรรมการนโยบายและก�ากับดูแลรัฐวิสาหกิจทราบ เพื่อขับเคลื่อนให้เข้าใจหลักการ/วิธีปฏิบัติให้สอดคล้อง
รวมถึงสร้างการรับรู้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
นอกจากการส่งเสริมให้มีการน�าหลักการชี้แนะฯ ไปใช้แล้ว หน่วยงานรัฐหลายหน่วยงานยังได้มีการส่งเสริมให้
ภาคธุรกิจน�ามาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนมาใช้ อาทิ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ผลักดันให้
สถานประกอบการจัดท�าแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices : GLP) ที่มีความครอบคลุมเรื่องการ
ไม่ใช้แรงงานเด็ก ไม่มีการค้ามนุษย์ ไม่มีการเลือกปฏิบัติ ไม่มีการใช้แรงงานบังคับ มีระบบการจัดการสุขอนามัย การจัดการ
ของเสีย และมีสภาพแวดล้อมการท�างานที่ปลอดภัย การเปิดโอกาสให้ลูกจ้างแสดงความเห็น โดยปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่
๔ สิงหาคม ๒๕๖๐) มีสถานประกอบกิจการผ่านการอบรมแล้วทั้งสิ้น ๕,๖๐๓ แห่ง เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๙ จ�านวน ๔,๙๐๒ แห่ง
และมีสถานประกอบกิจการน�าแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีไปใช้ในการบริหารจัดการแรงงาน จ�านวน ๕,๕๔๘ แห่ง
๓๗๒
หรือการที่กระทรวงพาณิชย์ได้มีการจัดท�ามาตรฐานและตรา “Thailand TRUST Mark” โดยสินค้าที่จะได้รับการรับรอง
จะต้องผ่านเกณฑ์คุณภาพอย่างน้อย ๓ เกณฑ์ ได้แก่ เกณฑ์มาตรฐานการผลิต เกณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว และ
เกณฑ์มาตรฐานแรงงานไทย ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขเพื่อรับรองและขับเคลื่อนการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
๓๗๓
การจัดท�าแผนปฏิบัติการชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (NAP)
โดยที่รัฐบาลไทยได้แถลงรับข้อเสนอแนะจากการประชุมทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย
ในกระบวนการ UPR รอบที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จากประเทศต่าง ๆ จ�านวน ๒๔๙ ข้อ และได้พิจารณา
๓๗๒ ประกอบด้วยกลุ่มอุตสาหกรรมสัตว์ปีก ๓,๗๗๘ แห่ง กลุ่มอุตสาหกรรมสุกร ๘๘๗ แห่ง กลุ่มอุตสาหกรรมทั่วไป ๔๔๔ แห่ง กลุ่มอุตสาหกรรมประมงทะเลและกิจการที่เกี่ยวข้อง ๔๓๙ แห่ง.
๓๗๓ สัมมนาวิชาการระดับชาติ เรื่อง “การเผยแพร่และการขับเคลื่อนหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติในประเทศไทย” เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ณ ศูนย์
ประชุมสหประชาชาติ โดยอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ.
192 | รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐