Page 194 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 194
บทที่ ๖ การประเมินสถานการณ์ด้าน
สิทธิมนุษยชนใน ๕ ประเด็นร่วม
ตอบรับทันที ๑๘๗ ข้อ หนึ่งในนั้น คือ การเสนอให้ไทยพัฒนา รับรอง และบังคับใช้แผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจ
และสิทธิมนุษยชน (NAP) เพื่อปฏิบัติตามหลักการชี้แนะเรื่องสิทธิมนุษยชนส�าหรับธุรกิจของสหประชาชาติ (UNGPs)
๓๗๔
ซึ่งกระทรวงยุติธรรมโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้ด�าเนินการเพื่อจัดท�าแผนปฏิบัติการดังกล่าว อาทิ การจัดท�า
รายงานประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจ (National Baseline Assessment) ร่วมกับมูลนิธิมานุษยะ
โดยการลงพื้นที่ระดับภูมิภาค ๔ ภูมิภาค เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนส�าหรับ
ใช้เป็นฐานข้อมูลในการจัดท�าแผนปฏิบัติการชาติฯ การประชุมร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากภูมิภาคอาเซียนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้
แนวทางการจัดท�าแผนปฏิบัติการชาติฯ โดยคาดว่าการจัดท�าแผนปฏิบัติการชาติฯ จะแล้วเสร็จภายในปี ๒๕๖๑ ซึ่งจะมี
การเผยแพร่แผนปฏิบัติการชาติฯ จัดท�าคู่มือการด�าเนินการตามแผน และพิจารณาทบทวนแผนปฏิบัติการชาติฯ เป็นระยะ
ส�าหรับการด�าเนินการของภาคธุรกิจ นั้น จากการประมวลข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ พบว่า แม้ภาคธุรกิจจะตื่นตัวเรื่อง
สิทธิมนุษยชนมากขึ้น แต่ภาคธุรกิจที่ให้ความส�าคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจนถึงขั้นน�ามาตรฐานสากลด้านสิทธิมนุษยชน
อาทิ หลักการชี้แนะฯ มาใช้ในกิจการของตนมีไม่มากนัก ดังเช่นข้อมูลจากงานวิจัยที่ส�ารวจประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคม
และสิ่งแวดล้อมจากบริษัทพลังงานที่ใหญ่ที่สุด ๑๐ อันดับ โดยงานวิจัยระบุว่า ประเด็นเรื่องการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
๓๗๕
อยู่ในระดับต�่าสุด และไม่มีบริษัทใดได้คะแนนปานกลาง เนื่องจากหลักเกณฑ์ปานกลาง คือการประเมินความเสี่ยงด้าน
สิทธิมนุษยชนทั้งในบริษัทเองและในห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ของบริษัท ซึ่งไม่มีบริษัทใดระบุว่า มีการจัดท�าในปี
พ.ศ. ๒๕๕๗ ส่วนประเด็นที่บริษัทโดยรวมได้คะแนนต�่าเป็นอันดับสองคือ การปฏิบัติที่เป็นธรรมต่อลูกจ้างเหมาช่วง
๓๗๖
(sub-contract) ซึ่งประเด็นนี้ บางบริษัทมองว่า เป็นความรับผิดชอบของผู้รับเหมาที่ว่าจ้างเหมาช่วงโดยตรง มิใช่ความ
รับผิดชอบของบริษัท นอกจากนี้ งานวิจัยมีข้อสังเกตถึงคะแนนในหมวดผลกระทบต่อชุมชนซึ่งสูงกว่าหมวดการป้องกัน
ผลกระทบต่อชุมชน กล่าวคือ ในภาพรวม ทุกบริษัทสามารถควบคุมปฏิบัติการระดับโรงงานให้มีความปลอดภัย และไม่ส่ง บทที่
๖
ผลกระทบในสาระส�าคัญชุมชนใกล้เคียง แต่หลายบริษัทยังไม่ให้ความส�าคัญอย่างเพียงพอกับการเปิดให้ชุมชนมีส่วนร่วม
กับการด�าเนินการเชิงรุก เพื่อบรรเทาความกังวลและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการสื่อสาร เช่น การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ
ผลกระทบจากโรงงานในภาษาที่ชาวบ้านเข้าใจง่าย เป็นต้น
๓๗๗
๓๗๔ ข้อ ๔๘ โดยประเทศสวีเดน.
๓๗๕ ข้อมูลจากโครงการวิจัย เรื่อง “การประเมินระดับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทพลังงานที่ใหญ่ที่สุด ๑๐ อันดับ เป็นการวิจัยที่ใช้ผลการทดสอบชุดตัวชี้วัดระดับความ
รับผิดชอบโดยใช้ข้อมูลปี ๒๕๕๗ เป็นฐาน.
๓๗๖ ยกเว้นบริษัท ปตท. จ�ากัด (มหาชน) (PTT) ซึ่งระบุว่าจะจัดท�าในปี ๒๕๕๘ และตั้งเป้าจะด�าเนินการตามผลการประเมินในปี ๒๕๕๙.
๓๗๗ ส�านักข่าวอิศรา. (๒๕๖๐). ป่าสาละเผยผลวิจัยข้อมูล CSR บ.พลังงานพบประเด็นสิทธิมนุษยชนมีคะแนนต�่าสุด. สืบค้นจาก www.isranews.org/isranews-news/55213-news-55213.html
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 193