Page 192 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 192
บทที่ ๖ การประเมินสถานการณ์ด้าน
สิทธิมนุษยชนใน ๕ ประเด็นร่วม
• การลงนามในสนธิสัญญาอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของแรงงานอพยพ ในการประชุมสุดยอด
อาเซียน ครั้งที่ ๓๑ และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ ๑๓ - ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ณ กรุงมะนิลา
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ โดยนายกรัฐมนตรีและผู้น�าสมาคมประชาชาติเอชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เพื่อเป็นการแสดง
เจตนารมณ์ถึงการให้ความส�าคัญกับการปกป้องสิทธิของแรงงานอพยพ ๓๖๘
อนึ่ง เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๐ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้เผยแพร่รายงานสถานการณ์
การค้ามนุษย์ ประจ�าปี ๒๕๖๐ ซึ่งประเทศไทยได้รับการจัดสถานะให้อยู่ใน Tier 2 Watch List เช่นเดียวกับปี ๒๕๕๙ ๓๖๙
การด�าเนินการเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจข้ามพรมแดน
การลงทุนข้ามพรมแดนของไทยหรือการลงทุนโดยคนไทยในต่างประเทศ มีมูลค่าสะสมตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ - ๒๕๕๙
๓๗๐
ประมาณ ๒.๕ ล้านล้านบาท โดยมีการลงทุนสะสมในกลุ่มประเทศอาเซียนมากที่สุด ประมาณมูลค่า ๗.๘ แสนล้านบาท
๓๗๑
ปัจจุบันยังไม่มีสนธิสัญญาระหว่างประเทศกรณีการประกอบธุรกิจข้ามพรมแดนที่มีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน
ที่ผ่านมา กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีผลกระทบจากการด�าเนินธุรกิจข้ามพรมแดนของผู้ประกอบการสัญชาติ
ไทยหลายกรณี โดยในปีที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบผลการพิจารณาด�าเนินการตามที่ กสม. ได้มีข้อเสนอแนะ
กรณีการด�าเนินโครงการท่าเรือน�้าลึกและเขตเศรษฐกิจทวาย ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาของบริษัท อิตาเลียนไทย
ดีเวล๊อปเมนต์ จ�ากัด (มหาชน) และในปี ๒๕๖๐ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ รับทราบสรุปผลการพิจารณา
ด�าเนินการของกระทรวงการต่างประเทศตามรายงานผลการพิจารณาค�าร้องที่มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของ กสม. กรณี
การด�าเนินงานของบริษัท น�้าตาลมิตรผล จ�ากัด ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่อ�าเภอส�าโรง (Samrong) และจงกัล
(Chongkal) ในจังหวัดโอดอร์ เมียนเจย (Oddar Meanchey) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชา โดยมีข้อเสนอที่ส�าคัญ
อาทิ การเสนอให้มีการจัดตั้งกลไกหรือก�าหนดภารกิจการก�ากับดูแลการลงทุนในต่างประเทศของผู้ลงทุนสัญชาติไทย
ให้เคารพต่อหลักการพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชน โดยน�าหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ
(UNGPs) มาเป็นกรอบในการด�าเนินการของการลงทุนในต่างประเทศของผู้ลงทุนสัญชาติไทย ตลอดจนแนวทางการผลักดัน
ให้มีการปฏิบัติตามหลักการชี้แนะฯ อย่างจริงจังและแพร่หลาย เช่น การผลักดันให้ภาคเอกชนมีมาตรการส่งเสริม บทที่
๖
สิทธิมนุษยชนในด้านต่าง ๆ โดยตรงและเข้มงวดมากขึ้น การพิจารณาใช้เครื่องมือเชิงนโยบายหรือการให้แรงจูงใจแก่เอกชน
เพื่อให้เคารพสิทธิมนุษยชนและรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
๓๖๘ กรุงเทพธุรกิจ. (๒๕๖๐). อาเซียนท�าข้อตกลงประวัติศาสตร์คุ้มครองแรงงานอพยพ. สืบค้นจาก http://daily.bangkokbiznews.com/detail/314658
๓๖๙ ประชาชาติธุรกิจ. (๒๕๖๐). สหรัฐคงอันดับค้ามนุษย์ไทยที่ Tier ๒ Watch List เท่ากับปีที่แล้ว. สืบค้นจากhttp://m.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1498578425
๓๗๐ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ความหมาย การลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศว่า ธุรกรรมการลงทุนที่ผู้ลงทุนซึ่งมีถิ่นฐานในประเทศไทยมีต่อธุรกิจที่มีถิ่นฐานในต่างประเทศที่เป็น
กิจการในเครือ โดยที่ผู้ลงทุนถือหุ้นของกิจการในเครือหรือกิจการที่น�าเงินไปลงทุนตั้งแต่ร้อยละ ๑๐ ขึ้นไป.
๓๗๑ เอกสารประกอบการประชุมปรึกษาหารือ ปัญหาและแนวทางการพัฒนาธรรมาภิบาลข้ามพรมแดนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มน�้าโขง เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ณ
สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะท�างานติดตามความรับผิดชอบการลงทุนข้ามพรมแดนของไทย.
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 191