Page 190 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 190

บทที่ ๖ การประเมินสถานการณ์ด้าน
                                                                                             สิทธิมนุษยชนใน ๕ ประเด็นร่วม



            “คุ้มครอง-เคารพ-เยียวยา” (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: Implementing
            the United Nations “Protect, Respect and Remedy” Framework : UNGPs)  และมีการผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ
                                                                                ๓๖๔
            น�าหลักการชี้แนะ UNGPs ไปใช้ให้เกิดผลในประเทศของตน ในขณะที่ช่วงเวลาใกล้เคียงกัน คือ ในปี ๒๕๕๓ องค์การ
            สหประชาชาติ ได้ประกาศข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact: UNGC) ซึ่งเป็นมาตรการ

            โดยความสมัครใจของภาคธุรกิจภายใต้หลักการใหญ่ ได้แก่ เรื่อง สิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการ
            คอรัปชั่น




































                  ในช่วงปี ๒๕๖๐ รัฐบาลได้ด�าเนินนโยบายและมาตรการ ตลอดจนการปรับปรุงกฎหมายที่ส�าคัญหลายประการที่
            เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากการด�าเนินธุรกิจ อาทิ



            บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิแรงงานในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ซึ่งได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐ ได้มีบทบัญญัติ
            ด้านแรงงานอันเกี่ยวเนื่องกับการด�าเนินธุรกิจปรากฏตามมาตรา ๓๐ ที่มิให้มีการเกณฑ์แรงงาน เว้นแต่โดยอาศัยอ�านาจ

            ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย   และมาตรา ๔๒ ที่ระบุถึงเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหกรณ์ สหภาพ ชุมชน หรือ
                                    ๓๖๕
            หมู่คณะอื่น ๓๖๖



            ๓๖๔  “การคุ้มครอง (protect)” รัฐมีหน้าที่ในการคุ้มครองทุกคนภายใต้เขตอ�านาจรัฐ (jurisdiction) มิให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการด�าเนินธุรกิจ รัฐจะต้องมีกระบวนการที่
                เหมาะสมในการปกป้อง สืบสวนสอบสวน ลงโทษ และเยียวยาผ่านนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่มีประสิทธิภาพ  บทที่
                “การเคารพ (respect)” ธุรกิจมีความรับผิดชอบในการเคารพสิทธิมนุษยชน โดยบริษัทต้องรู้และแสดง (know and show) ว่าตนได้เคารพสิทธิมนุษยชน บริษัทต้องรู้ผลกระทบ หลีกเลี่ยง  ๖
                การละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุคคลต่างๆ ในทุกที่ที่มีการประกอบกิจการ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใดหรือธุรกิจประเภทใด และระบุผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ถ้าบริษัทพบว่าเป็นสาเหตุหรือเป็น
                ส่วนหนึ่งของผลกระทบทางลบต่อสิทธิมนุษยชน บริษัทต้องจัดให้มีหรือมีส่วนในกระบวนการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพ
                “การเยียวยา (remedy)” เมื่อเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้น รัฐต้องมีกระบวนการที่ท�าให้แน่ใจได้ว่าเหยื่อ/ผู้เสียหายสามารถเข้าถึงการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นกลไกทาง
                ศาลหรือกลไกที่นอกเหนือจากศาล หรือกระบวนการทางปกครอง และเมื่อปรากฏว่า ธุรกิจกระท�าหรือมีส่วนท�าให้เกิดผลกระทบทางลบต่อสิทธิมนุษยชน บริษัทถูกคาดหวังให้ริเริ่มหรือ
                เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการบรรเทาผลกระทบต่อบุคคล/ชุมชนในระดับปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพ.
            ๓๖๕  มาตรา ๓๐ การเกณฑ์แรงงานจะกระท�ามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอ�านาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ หรือในขณะที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
                หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก หรือในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือการรบ.
            ๓๖๖  มาตรา ๔๒  บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหกรณ์ สหภาพ องค์กร ชุมชน หรือหมู่คณะอื่น
                การจ�ากัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระท�ามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอ�านาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรม
                อันดีของประชาชน หรือเพื่อการป้องกันหรือขจัดการกีดกันหรือการผูกขาด.


                                                                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 189
   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195