Page 191 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 191

การด�าเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติและการค้ามนุษย์
                รัฐได้มีนโยบายในการด�าเนินการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติและการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
           ตั้งแต่ ปี ๒๕๕๗ โดยในปี ๒๕๖๐ รัฐบาลยังคงให้ความส�าคัญกับการด�าเนินการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง อาทิ
                •  การประกาศใช้พระราชก�าหนดการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อป้องกันมิให้มีการท�าการประมงโดยไม่ชอบ

           ด้วยกฎหมาย และก�าหนดมาตรการในการคุ้มครองแรงงานในภาคประมงที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
                •  การประกาศใช้พระราชก�าหนดการบริหารจัดการ
           การท�างานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่
           ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๐ เพื่อให้สามารถจัดระเบียบ ป้องกัน

           คุ้มครอง เยียวยา และใช้บังคับกฎหมาย รวมทั้งส่งเสริม
           ความร่วมมือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการ
           การท�างานของคนต่างด้าวได้ทั้งระบบ แต่ยังพบปัญหาใน
           ทางปฏิบัติจริง อาทิ ภายหลังจากการประกาศใช้พระราช

           ก�าหนดการบริหารจัดการการท�างานของคนต่างด้าว พ.ศ.
           ๒๕๖๐ ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับนายจ้างและลูกจ้างที่
           เป็นแรงงานข้ามชาติโดยเฉพาะแรงงานจากประเทศเมียนมา
           ลาว และกัมพูชา ส่งผลแรงงานข้ามชาติเดินทางกลับประเทศและมีผลกระทบต่อผู้ประกอบกิจการโดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็ก

           ซึ่งภายหลังรัฐบาลได้ออกค�าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๓๓/๒๕๖๐ ก�าหนดมาตรการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการบริหาร
           จัดการการท�างานของคนต่างด้าว
                •  การลงนาม ข้อตกลงว่าด้วยการจ้างงาน (MOA) ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐ
           ประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) โดยมีสาระส�าคัญเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการจ้างงานระหว่างแรงงานไทยและ สปป.ลาว

           ส่งเสริมให้แรงงานได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม รวมไปถึงการสกัดกั้นการค้ามนุษย์ ทั้งนี้
           ประเทศไทยได้ลงนามบันทึกความความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MOU) และบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างงาน
           (MOA) กับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน CLMV แล้ว ได้แก่ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๘
           ราชอาณาจักรกัมพูชาเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๘ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๕๙ ส่วนสาธารณรัฐ

           ประชาธิปไตยประชาชนลาวได้ลงนาม MOU แล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๙
                                                                          ๓๖๗




























           ๓๖๗  กองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (๒๕๖๐). ไทย-ลาวลงนาม MOA ส่งเสริมการจ้างงานขับเคลื่อนความมั่นคงทางเศรษฐกิจ. สืบค้นจาก www.oshthai.org/
              index.php?option=com_content&view=article&id=582%3A-moa-&catid=1%3Anews-thai


           190 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196