Page 189 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 189
- ในการส่งตัวเข้าควบคุมควรให้มีการตรวจร่างกายตั้งแต่วันแรกโดยแพทย์ของโรงพยาบาลทุกครั้ง และให้การ
ดูแลรักษาอย่างเหมาะสมหากผู้ถูกควบคุมได้รับบาดเจ็บ
- การให้โอกาสติดต่อเยี่ยมญาติอย่างอิสระ ตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดการควบคุมตัว เพื่อลดความกังวลของญาติ และ
สร้างความตระหนักของเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติต่อผู้ถูกควบคุมตัวบนหลักการของกฎหมายและเคารพต่อสิทธิมนุษยชน
ของผู้ถูกควบคุมตัว ซึ่งต้องถูกสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ตราบใดที่ศาลยังไม่มีค�าพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็น
ผู้กระท�าความผิด ๓๕๙
- การให้ความคุ้มครองบุคคลที่ให้ความร่วมมือกับภาครัฐ โดยใช้อ�านาจตามกฎหมายด้านความมั่นคงพิจารณา
ก�าหนดมาตรการคุ้มครองและป้องกันต่อบุคคลที่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลหรือช่วยเหลืองานที่เป็น
ประโยชน์ต่อความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ๓๖๐
ด้านสิทธิในชีวิตและร่างกายของเด็ก รัฐควรให้ความส�าคัญต่อมาตรการในการสร้างความมั่นคงในชีวิตของเด็ก
ในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ และก�าหนดมาตรการสนับสนุนในรูปแบบที่หลากหลายและเพียงพอ อาทิ การจัดระบบเดินทาง
ระหว่างบ้านและโรงเรียนที่ปลอดภัย การเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยในเขตโรงเรียนให้เป็นเขตปลอดความรุนแรง
อย่างแท้จริง
๓๖๑
ด้านการมีส่วนร่วมของสตรีในกระบวนการสันติภาพ รัฐพึงให้ความส�าคัญต่อข้อสังเกตของคณะกรรมการ
ผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีของสหประชาชาติ (CEDAW) ในการมีส่วนร่วมของสตรีในพื้นที่จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ต่อกระบวนการสันติภาพ ๓๖๒
๖.๓ ธุรกิจและสิทธิมนุษยชน
ภาพรวม
การด�าเนินธุรกิจที่ผ่านมาก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนในทางลบหลายประการ อาทิ ผลกระทบต่อ
การด�ารงชีวิตของชุมชน การก่อมลภาวะ
การต้องโยกย้ายที่อยู่ของชุมชน การเอา
เปรียบแรงงาน ท�าให้หน่วยงานระหว่าง
ประเทศพยายามสร้างบรรทัดฐาน
เพื่อให้การด�าเนินธุรกิจเคารพสิทธิมนุษยชน
โดยในปี ค.ศ. ๒๐๑๑ คณะมนตรี
๓๖๓
สิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (Human
Rights Council : HRC) ได้รับรองเอกสาร
หลักการชี้แนะเรื่องสิทธิมนุษยชนส�าหรับ
ธุรกิจของสหประชาชาติ ภายใต้กรอบ
๓๕๙ รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ ๑๒๕/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ และรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ ๑๖๑-๑๙๓/๒๕๕๘ ลงวันที่
๒๐ เมษายน ๒๕๕๘.
๓๖๐ รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ ๘/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๐.
๓๖๑ จาก แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๖๐) (หน้า ๗๐), โดย กระทรวงยุติธรรม, ม.ป.ป., ม.ป.ท.
๓๖๒ แหล่งเดิม.
๓๖๓ ประเทศไทยได้ร่วมรับรองหลักการ UNGPs ในการประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (HRC) ในปี ๒๕๕๔.
188 | รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐