Page 188 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 188

บทที่ ๖ การประเมินสถานการณ์ด้าน
                                                                                             สิทธิมนุษยชนใน ๕ ประเด็นร่วม



                  ๒. กสม. ยังพบข้อร้องเรียนการกระท�าการอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในระหว่างการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย
            ในคดีความมั่นคง ซึ่งได้ด�าเนินการตรวจสอบและมีข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาตาม
            ข้อร้องเรียนให้ดีขึ้น
                  ๓. เหตุการณ์ความไม่สงบยังคงส่งผลกระทบต่อชีวิตและร่างกายของเด็ก ทั้งการเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ และในด้าน

            การสาธารณสุขและสุขภาพพบว่า เด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีภาวะโภชนาการต�่ากว่าเด็กในพื้นที่อื่น
            ของประเทศไทย
                  ๔. บทบาทการมีส่วนร่วมของสตรีในพื้นที่ต่อกระบวนการสันติภาพยังไม่ชัดเจน แม้ว่าในปี ๒๕๕๙ รัฐบาลได้
            เห็นชอบร่าง “มาตรการและแนวปฏิบัติด้านสตรีกับการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคง” ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอแนะ

            จาก (CEDAW/C/THA/CO/5, para.36) และยอมรับข้อเสนอของคณะท�างานผู้หญิงชายแดนใต้ เข้าสู่กระบวนการ
            พูดคุยสันติสุข  แต่จากการพิจารณารายงานอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW)
                        ๓๕๖
            ในปี ๒๕๖๐ คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีของสหประชาชาติ  ยังคงห่วงกังวลการ
                                                                                           ๓๕๗
            กีดกันสตรีไม่ได้มีส่วนร่วมอย่างมีนัยส�าคัญในกระบวนการสันติภาพ ๓๕๘




































            ข้อเสนอแนะ



                  ด้านสิทธิในกระบวนการยุติธรรม จากผลการตรวจสอบข้อร้องเรียนว่ามีการกระท�าอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
            ในระหว่างการควบคุมตัว กสม. ได้ตรวจสอบและมีข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

                  -  การประสานความร่วมมือจากแพทย์ของโรงพยาบาลประจ�าจังหวัดให้เป็นผู้ท�าหน้าที่ตรวจร่างกาย และจัดท�า  บทที่
                                                                                                                   ๖
                      บันทึกการตรวจร่างกายไว้เป็นหลักฐานก่อนเพื่อแสดงความโปร่งใส โดยด�าเนินการก่อนที่จะมีการควบคุมตัวผู้ที่
                      ถูกเชิญตัวมาซักถาม หรือผู้ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบ ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น
                      ต่อประชาชนในพื้นที่และลดเงื่อนไขต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม


            ๓๕๖  มูลนิธิฮิลาลอะห์มัร.(๒๕๖๐). กยส.เห็นชอบแผนผู้หญิงกับสันติภาพ ผู้หญิงชายแดนใต้ชี้ยาเสพติดท�าให้ครัวเรือนขาดความมั่นคง. สืบค้นจาก www.hilalahmar.org/305
            ๓๕๗  จากการพิจารณารายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW) ของประเทศไทยในปี ๒๕๖๐ (CEDAW/C/THA/CO/6-7, para.22).
            ๓๕๘  The Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights. (2017). CEDAW/C/THA/CO/6-7. Retrieved from http://tbinternet.ohchr.org/_layouts/
                treatybodyexternal/Download.aspx?symbolno=CEDAW/C/THA/CO/6-7&Lang=En


                                                                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 187
   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193