Page 187 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 187
แผนภาพที่ ๔ สถิติสตรีที่เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปี ๒๕๔๗ – ๒๕๖๐)
๒๓๔
๒๐๗ ๒๐๙ ๒๐๕
๑๗๙ ๑๗๓
จํานวน (คน) ๑๓๗ ๑๕๐ ๑๔๓ ๑๒๘
๙๐
๑๑๘
๖๘
๘๗
๖๖
๕๐ ๕๕ ๕๗
๓๗ ๔๗ ๔๐ ๓๗
๒๑ ๒๙ ๒๙ ๒๔
๑๑ ๑๐
๒๕๔๗ ๒๕๔๘ ๒๕๔๙ ๒๕๕๐ ๒๕๕๑ ๒๕๕๒ ๒๕๕๓ ๒๕๕๔ ๒๕๕๕ ๒๕๕๖ ๒๕๕๗ ๒๕๕๘ ๒๕๕๙ ๒๕๖๐
ป
ผูเสียชีวิต ผูไดรับบาดเจ็บ
ที่มา : ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
ในมิติด้านการท�างานเพื่อเรียกร้องให้ยุติความรุนแรง ละเว้นต่อกลุ่มเป้าหมายที่มีความเปราะบาง และการผลักดัน
ให้เกิดพื้นที่สาธารณะที่ปลอดภัย ตลอดจนการเรียกร้องขอให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพในฐานะผู้มีส่วนได้
เสียจากการเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบของสตรีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปี ๒๕๕๙ คณะ
พูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้และกลุ่มมาราปาตานี ได้ยอมรับข้อเสนอเชิงนโยบายพื้นที่สาธารณะปลอดภัย
ส�าหรับผู้หญิงชายแดนใต้ ที่เสนอโดยคณะท�างานผู้หญิงชายแดนใต้ (PAOW) และในปี ๒๕๖๐ คณะท�างานผู้หญิง
๓๕๔
ชายแดนใต้ได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติก่อเหตุรุนแรงและปฏิบัติการทางทหารตอนเด็ก ผู้หญิง พลเรือน ทุกศาสนิก ชาติพันธุ์
และพื้นที่สาธารณะ และเรียกร้องให้ทุกภาคส่วน ร่วมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อกระบวนการสันติภาพ อันได้แก่
การพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา การอ�านวยความยุติธรรม และการเคารพศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์ และสิทธิมนุษยชน
๓๕๕
การประเมินสถานการณ์ ปัญหา และอุปสรรค
จากตัวเลขสถิติเหตุการณ์ความไม่สงบที่ลดลง และการด�าเนินการที่ส�าคัญของรัฐ แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์
เชิงบวกของการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างไรก็ดี ยังมีข้อห่วงกังวลต่อปัญหาในมิติต่าง ๆ
ที่ส่งผลต่อสิทธิ เสรีภาพในชีวิตและร่างกายของประชาชน ซึ่งจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๖๐ พบว่า
๑. รัฐมีความพยายามและความก้าวหน้าที่จะลดความรุนแรงในพื้นที่ ซึ่งมีผลต่อสิทธิ เสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
๓๕๔ โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้. (๒๕๖๐). “ข้อเสนอเชิงนโยบาย พื้นที่สาธารณะปลอดภัยส�าหรับผู้หญิงชายแดนใต้”. สืบค้นจาก www.deepsouthwatch.org/sites/default/files/
khesnechingnoybaayphuuenthiisaathaarnapldphaysamhrabphuuhying-smbuurn_1_0.pdf
๓๕๕ โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้. (๒๕๖๐). “๒๓ องค์กรสตรี จชต.รณรงค์พื้นที่ปลอดภัย PAOW มุ่งสังคมยอมรับบทบาทผู้หญิงในอีก ๑๐ ปี”. สืบค้นจาก www.deepsouthwatch.org/dsj/
th/11094
186 | รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐