Page 184 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 184

บทที่ ๖ การประเมินสถานการณ์ด้าน
                                                                                             สิทธิมนุษยชนใน ๕ ประเด็นร่วม



            ในการท�างานระดับพื้นที่ รัฐบาลได้จัดโครงการส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุข ภายใต้กิจกรรม
            จัดฝึกอบรมวิทยากรกระบวนการเสริมสร้างสันติสุขระดับอ�าเภอ (ครู ก.) เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการด�าเนินการ
            ของรัฐต่อประชาชนในพื้นที่ ลดความหวาดระแวงระหว่างกัน และเปิดพื้นที่ในการพูดคุยภายใต้บรรยากาศที่เอื้อต่อ
            การแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี ๓๔๔



                  ๒.๓ สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
                      ๒.๓.๑ สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
                             ในปี ๒๕๖๐ กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนประเด็นสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จ�านวน ๔๒ เรื่อง

            จ�าแนกเป็นประเด็นสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ๓๗ เรื่อง คิดเป็นร้อยละ ๘๘.๑ ของเรื่องร้องเรียนในประเด็นสิทธิมนุษยชน
            ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งหมด ๓๔๕  ประเด็นที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่าถูกกระท�าการอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
            มากที่สุดคือ การกล่าวอ้างว่าเจ้าหน้าที่รัฐกระท�าทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ ในระหว่างการควบคุมตัว  เช่น ตีเข่า ชกต่อยที่ท้อง
                                                                                        ๓๔๖
            หน้าอก หน้าผาก บังคับให้ยืนตากแดด บังคับให้นั่งเก้าอี้มัดมือไขว้หลัง โดยแช่เท้าในน�้าแข็ง เป็นต้น และข้อร้องเรียนใน

            การขอเข้าเยี่ยมญาติที่ตกเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีความมั่นคง รวมถึงปรากฏเรื่องร้องเรียนกรณีที่ผู้ร้องร้องเรียนว่าน้องชาย
            ซึ่งเคยเป็นผู้ถูกควบคุมตัวตามพระราชก�าหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และเคยเป็นผู้ให้
            ข้อมูลของผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่แก่เจ้าหน้าที่ถูกชายฉกรรจ์ ๓ คน จับกุมตัวแล้วน�าขึ้นรถหลบหนีไป โดยเหตุการณ์
            ดังกล่าวเกิดขึ้นในพื้นที่อ�าเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๕๙  โดยที่ปัจจุบันเจ้าหน้าที่ยังไม่พบ

            ผู้เสียหาย และยังไม่ทราบผู้กระท�าความผิด ๓๔๗


                      ๒.๓.๒ สิทธิเด็ก
                             ในปี ๒๕๖๐ มีจ�านวนเด็ก (อายุ ๐ - ๑๗ ปี) ที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ความไม่สงบจ�านวน ๓๖ ราย

            เสียชีวิต ๔ ราย เป็นเพศชายทั้งหมด ได้รับบาดเจ็บ ๓๒ ราย เป็นเพศชาย ๒๑ ราย เพศหญิง ๑๑ ราย มีจ�านวนลดลง
            เมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๙ ที่มีจ�านวนเด็กเสียชีวิตจากสถานการณ์ความไม่สงบจ�านวน ๙ ราย และได้รับบาดเจ็บ ๕๐ ราย ๓๔๘






















                                                                                                                  บทที่
                                                                                                                   ๖





            ๓๔๔  ศูนย์อ�านวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ “ศอ.บต. จัดอบรมวิทยากร กระบวนการเสริมสร้างสันติสุขระดับอ�าเภอ (ครู ก.) เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการด�าเนินการของ
                รัฐต่อประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งสร้างความต่อเนื่องของกระบวนการพูดคุยสันติสุขใน จชต.” เข้าถึงได้จาก www.sbpac.go.th/index.php/2014-11-27-04-12-16/2014-12-08-03-51-
                34/2971-2017-07-06-01-31-43
            ๓๔๕  ระบบสารสนเทศเพื่อการรวบรวมและบริการสารสารเทศด้านสิทธิมนุษยชน http://hris.nhrc.or.th
            ๓๔๖  ระบบฐานข้อมูลเรื่องร้องเรียน http://hris.nhrc.or.th/nhrc2015/
            ๓๔๗  ค�าร้องที่ ๑๒๗/๒๕๕๙
            ๓๔๘  ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้

                                                                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 183
   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189