Page 183 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 183
๒. การด�าเนินการที่ส�าคัญของรัฐ
๒.๑ การช่วยเหลือเยียวยา
จากกรณีที่มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ความไม่สงบ รัฐบาลได้มอบเงินช่วยเหลือผู้ได้รับ
ผลกระทบ ปรากฎในตาราง ๓
ตาราง ๓ การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
ลักษณะผลกระทบ ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ รวม จ�านวนเงิน
ผู้ได้รับผลกระทบ (ราย) (ราย) (ราย) (บาท)
ด้านร่างกาย ๒๒๙ ๒๑๑ ๔๔๐ ๕๘,๔๒๕,๐๐๐
• กรณีเสียชีวิต (๔๖) (๕๒) (๙๘)
• กรณีบาดเจ็บ (๑๗๒) (๑๕๒) (๓๒๔)
• กรณีทุพพลภาพ (๑๑) (๗) (๑๘)
ด้านทรัพย์สิน ๓๔๗ ๑๐๕,๒๗๐,๓๑๑
การช่วยเหลือกรณีพิเศษนอกเหนือหลักเกณฑ์ ๘๓ ๒๓,๘๓๙,๐๐๐
เจ้าหน้าที่รัฐที่ได้รับกระทบจากเหตุการณ์ความ
๓๓๙
ไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๐
การช่วยเหลือด้านคุณภาพชีวิตของผู้ได้รับ ๕,๒๑๘ ๒๔๗,๙๗๓,๙๑๓
ผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดน
ภาคใต้ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
๓๔๐
เงินทดแทนประกันชีวิตกับทายาทของเจ้าหน้าที่รัฐ ๑,๒๒๐ ๖๑๐,๐๐๐,๐๐๐
ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ที่มา : ศูนย์อ�านวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ๓๔๑
นอกจากนี้ รัฐบาลได้ด�าเนินโครงการเยียวยาด้านจิตใจ อาทิ โครงการ “เยียวยาจิตใจ จากใจ ศอ.บต. ให้กับผู้ได้รับ
ผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้” และการจัด “ค่ายครอบครัวอบอุ่น” ให้กับเด็กที่ได้รับ
ผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบและเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมาย เป็นต้น
๒.๒ การแก้ไขปัญหาความรุนแรงในพื้นที่
รัฐบาลได้ด�าเนินการพูดคุยสันติสุขกับกลุ่มผู้มีอิทธิพลในการก่อเหตุความรุนแรงเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๕๙ ได้
ท�าความเข้าใจข้อตกลงร่วม (TOR) ด้านธุรการและการสนับสนุน และต่อมาเมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ รัฐบาล
๓๔๒
โดยคณะพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้มีการประชุมร่วมกับกลุ่มมาราปาตานี (MARA Patani) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
๓๔๓
ประเทศมาเลเซีย ที่ประชุมให้ความเห็นชอบในหลักการเรื่องการจัดตั้งพื้นที่ปลอดภัย และได้ข้อสรุปพื้นที่ที่สามารถ
จัดตั้งเป็นพื้นที่ปลอดภัยรวม ๕ พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่จังหวัดนราธิวาส จ�านวน ๒ อ�าเภอ จังหวัดยะลา จ�านวน ๒ อ�าเภอ และ
จังหวัดปัตตานี จ�านวน ๑ อ�าเภอ แต่ยังไม่มีการระบุว่าเป็นพื้นที่ของอ�าเภอใด ทั้งนี้ นอกจากกระบวนการในระดับประเทศแล้ว
๓๓๙ เป็นการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเจ้าหน้าที่รัฐและครอบครัว เป็นการดูแลด้านขวัญก�าลังใจเจ้าหน้าที่รัฐที่มาปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยความทุ่มเท
เสียสละ และมีความตั้งใจที่จะช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น การช่วยเหลือกรณีนี้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ ๒/๒๕๕๖ เมื่อ
วันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๖ โดยมีมติเห็นชอบให้ ศอ.บต. พิจารณาให้ความช่วยเหลือเยียวยา นอกเหนือหลักเกณฑ์ กรณีเจ้าหน้าที่รัฐเสียชีวิต บาดเจ็บ และพิการจากการปฏิบัติหน้าที่ตาม
ค�าสั่ง หรือได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย การพัฒนาและแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งการช่วยเหลือในกรณีนี้มิได้เป็นไปตามมติ
คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๔๘ แต่จะช่วยเหลือตามเงื่อนไขของที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์ เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๑ มีมติเห็นชอบ
๓๔๐ เช่น การติดตามเยี่ยม ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ส่งเสริมทุนประกอบอาชีพ ตามความสามารถ เป็นต้น
๓๔๑ ข้อมูลการเยียวยาตั้งแต่ ๑ มกราคม – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐
๓๔๒ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. “รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๙”
๓๔๓ กลุ่มใหม่ที่เป็นการรวมตัวกันของหลายกลุ่มขบวนการที่ต่อสู้เพื่อเอกราชปาตานี น�าโดยอาบูฮาฟิสอัลฮากิม อาวัง ยะบะ ซึ่งเกิดขึ้นและมีบทบาท หลังจากการเจรจาในรอบรัฐบาลที่มีนางสาว
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
182 | รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐