Page 163 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 163

ณ ปัจจุบัน รัฐบาลพยายามแก้ไข และปรับปรุงกฎหมาย โดยมีการด�าเนินการส�าคัญ คือ การแจ้งเกิด (birth registration)
                                                                                                          ๓๑๕
           และการเพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎร  ในขณะที่ยังมีข้อจ�ากัดเรื่องหลักฐานต่าง ๆ
                                      ๓๑๖

                กรณีคนไร้รากเหง้า  ในทางปฏิบัติบุคคลดังกล่าวอาจจะปฏิเสธการรับ “บัตรหัวศูนย์” ในขณะที่การส�ารวจข้อมูล
                                ๓๑๗
           ประชากรกลุ่มดังกล่าวก็ไม่มีความชัดเจนแต่อย่างใด โดยสืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๙ ในส่วนของ
           การแก้ไขปัญหาคนไร้รากเหง้า มีการคาดการณ์ตัวเลข แรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนประมาณ ๑,๐๐๐,๐๐๐ คน
           ชนกลุ่มน้อยจ�านวน ๔๘๐,๐๐๐ คน และกลุ่มคนที่มีปัญหาสถานะประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คน ดังนั้น การคาดการณ์ตัวเลข
           ดังกล่าวยังคงมีการเปลี่ยนแปลง

                ทั้งนี้ รัฐมีหลักเกณฑ์การพิจารณาความน่าเชื่อถือของพยานบุคคลในกรณีที่มีการรับรองการเกิด หรือข้อเท็จจริง
           ที่เกี่ยวกับตัวบุคคลที่ประสงค์จะขอการรับรอง (๑) กรณีการเกิดหรือการรู้เห็นสถานที่เกิดต้องเป็นพยานบุคคล ซึ่งต้องมีอายุ
           มากกว่าบุคคลที่จะขอการรับรองการเกิดอย่างน้อย ๗ ปี (อายุตามก�าหนดที่เป็นวัยไร้เดียงสาตามกฎหมาย) (๒) กรณีการ
           รับรองความประพฤติ หรือพฤติการณ์ต้องแสดงให้เห็นว่าบุคคลดังกล่าวมีสถานะที่น่าเชื่อถือ การแก้ไขปัญหาการไร้รัฐ

           ไร้สัญชาติซึ่งมีความคาบเกี่ยวกับหลักการพิจารณาทั้งความมั่นคงของรัฐ และความมั่นคงของมนุษย์ ดังนั้น จึงต้องพิจารณา
           ความสมบูรณ์ของระบบการบริหารจัดการประชากรของรัฐ การแก้ไขกฎหมายทะเบียนราษฎร (พระราชบัญญัติสัญชาติ
           (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๑ ปี ๒๕๕๕) ซึ่งยังมีข้อติดขัด/ความคลุมเครือในการแก้ไขปัญหาการไร้รัฐ ไร้สัญชาติ อาทิ หลัก
           ฐานการแจ้งเกิดบุคคลสัญชาติไทยที่เกิดในต่างประเทศ การมีเลขประจ�าตัวบุคคล (เลข ๑๓ หลัก) ในสูติบัตร (ออกโดย

           ตัวแทนของรัฐบาลไทยในต่างประเทศ) การมีเลขที่บ้านชั่วคราว ในขณะที่ลักษณะการอยู่อาศัยมีการเปลี่ยนแปลง (อาทิ
           การอยู่อาศัยบนแพ หรือรถยนต์) ในขณะที่รัฐบาลก�าลังพัฒนาข้อเสนอแนะในการปรับแก้ไขพระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร
           หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้คุ้มครองบุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติ (ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๙) โดยแก้ไข





           ๓๑๕  กฎหมายก�าหนดว่า บุคคลใด ๆ ก็ตามที่เกิดในประเทศไทย จะสามารถแจ้งเกิดกับส�านักทะเบียนในพื้นที่ดังกล่าวได้ (รวมถึงบุตรผู้หนีภัยจากการสู้รบ บุตรของผู้เข้าเมืองผิดกฎหมาย และ
              อื่น ๆ) การได้รับใบเกิดเป็นการแสดงตัวตนของบุคคลดังกล่าวเท่านั้น มิได้เกี่ยวข้องกับสิทธิในการอยู่อาศัย หรือสิทธิในสัญชาติ โดยให้พิจารณาสถานะของบุตรเป็นไปตามสถานะของบิดา-
              มารดาในขณะที่บุตรเกิด
           ๓๑๖  หากบิดา-มารดามีสัญชาติไทย ก็เป็นไปตามกฎหมายโดยทั่วไป ทั้งนี้ หนังสือรับรองข้อเท็จจริงใด ๆ ที่ไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงได้ (อาทิ การรับรองการเกิด ตาม ๒๐/๑ หรือการ
              แสดงความเป็นบิดา-มารดา หรือใบเกิด) จะไม่มีอายุการใช้งาน ในขณะที่หากเป็นการรับรองสถานะบุคคล (การสมรส และอื่น ๆ) จะมีอายุการใช้งาน
              ทั้งนี้ คนต่างด้าวบางประเภทที่สามารถเพิ่มชื่อได้ จะพิจารณาจากสิทธิการอยู่อาศัยเป็นส�าคัญ (เรียงจากสิทธิทางการอยู่อาศัยถาวรไปจนถึงสิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี) โดยแบ่งเป็น
              (๑) บุคคลที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวร บุคคลที่มีใบส�าคัญถิ่นที่อยู่ (ตม.๑๖ เล่มสีน�้าเงิน) (หากเป็นต่างด้าวทั่วไปยื่นที่ส�านักงานตรวจคนเข้าเมือง หากเป็นชนกลุ่ม
              น้อยอื่น ๆ ยื่นที่อ�าเภอ หรือเขต โดยต้องผ่านคณะกรรมการที่มีปลัด มท. เป็นประธาน และผู้บัญชาการ ตม. เป็นเลขานุการ และหากเห็นชอบต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการ
              กระทรวงมหาดไทย และนายกรัฐมนตรี โดยหลังจากนั้นที่ผ่านความเห็นชอบทั้งหมดแล้ว ยื่นเรื่องขอรับใบส�าคัญถิ่นที่อยู่กับ ตม. และเพิ่มชื่อ พร้อมท�าใบส�าคัญประจ�าตัวคนต่างด้าว) ส่วน
              ใบส�าคัญประจ�าตัวคนต่างด้าว (สีแดง) (ออกโดยพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว โดยมีระยะเวลาต่ออายุ ๑ หรือ ๕ ปีแล้วแต่กรณี) ในกลุ่มนี้ถือเป็นข้อบังคับ มีโทษปรับในกรณี
              ที่ไม่มีการเพิ่มชื่อ และไม่ท�าใบส�าคัญประจ�าตัวคนต่างด้าว
              (๒) บุคคลที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว โดยการขอการตรวจลงตรา (visa) โดยหากประสงค์จะขอเพิ่มชื่อ และท�าใบส�าคัญประจ�าตัวคนต่างด้าวก็สามารถกระท�าได้
              แต่ไม่มีข้อบังคับ (เอกสารที่ก�าหนดให้กระทรวงการต่างประเทศต้องรับรอง คือ เอกสารการเกิด และตาย ตาม ๒๘ วรรคสองของพระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร) ทั้งนี้ ในกรณีที่
              เดินทางออกราชอาณาจักรไทย ให้นายทะเบียนติดตามเจ้าบ้าน
              (๓) บุคคลต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย แต่มีการออกนโยบายพิเศษ อาทิ รัฐบาลมิสามารถด�าเนินการใดๆ ได้ (ไม่สามารถส่งกลับประเทศต้นทางได้ เนื่องจากเหตุผลต่างๆ)  ก็จะพิจารณา
              ผ่อนผันให้อยู่ได้เป็นกรณีพิเศษ (หรือจะพบค�าว่า “อนุญาตให้อยู่ชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับ”) กรณีดังกล่าวถือว่า รัฐบาลให้สิทธิในการอยู่อาศัย โดยการขอมติคณะรัฐมนตรีตามมาตรา
              ๑๗ ของพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.๒๕๒๒ และกระทรวงมหาดไทยออกประกาศ โดย ณ ปัจจุบันมี ๑๙ กลุ่ม (อาทิ ชุมชนบนพื้นที่สูง เวียดนามอพยพ จีนฮ่อ อดีตทหารจีนคณะชาติ
              ชาวเล และอื่น ๆ เป็นต้น) โดยในกลุ่มนี้จะไม่มีระยะเวลาก�าหนดในการผ่อนผันหรือส่งกลับ หรือรัฐบาลพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ (ความจ�าเป็นการด้านเศรษฐกิจ) อาทิ กลุ่มแรงงานต่างด้าว
              ที่ได้รับการผ่อนผันให้สิทธิในการอยู่อาศัยในประเทศไทย (เข้ามิชอบ แต่อยู่ได้ชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับ) โดยในกลุ่มนี้จะมีระยะเวลาก�าหนดในการผ่อนผันหรือส่งกลับ ทั้งนี้ การอนุญาต
              ผ่อนผันให้อยู่ต่อเนื่องหากไม่เกิน ๕ ปี ไม่สามารถท�าทะเบียนบ้าน (ท.ร.๑๓) ได้ (กฎกระทรวงมหาดไทย ปี ๒๕๕๑) (ทะเบียนบ้านชนกลุ่มน้อย มิใช่ทะเบียนบ้านแรงงานข้ามชาติ)
              ทั้งนี้ การท�า ท.ร.๓๘ (ท.ร.๓๘/๑) จะเป็นทะเบียนประวัติเพื่อป้องกันภาวะการไร้รัฐส่วนหนึ่ง
              (๔) บุคคลต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย แต่รัฐบาลไม่มีนโยบายการให้สิทธิในการอยู่อาศัย ก�าหนดให้ด�าเนินการตาม มาตรา ๓๘ วรรคสอง (ส�าหรับต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย ไม่สามารถเข้า
              ถึงสิทธิในการรักษาพยาบาลได้ เว้นแต่การซื้อหลักประกันทางสุขภาพ) คือ การท�าทะเบียนประวัติบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน (บัตรหัวศูนย์ หลัก ๖ และ ๗ เป็น ๐๐) โดยถือเป็นกลุ่มที่ยัง
              ไม่มีนโยบายแก้ไขปัญหา ในส่วนนี้เป็นความพยายามแก้ไขปัญหาการไร้รัฐ (บุคคลที่ไม่มีเอกสารของรัฐใด ๆ รับรอง และเดินทางเข้าเมืองแบบผิดกฎหมาย อาทิ โรฮิงญาที่ไม่มีเอกสารพิสูจน์ตน)
              ทั้งนี้ บุคคลที่ถือบัตรหัวศูนย์ หลัก ๖ และ ๗ เป็น ๐๐ ยังมีบุคคลที่ได้รับการพิสูจน์ตามมาตรา ๑๙ การแจ้งเกิดของเด็กแรกเกิดเกินก�าหนด เด็กไร้เดียงสา เด็กถูกทอดทิ้งภายใต้การดูแลของ
              พม. โดยมีรายละเอียดตามมาตรา ๑๙/๑ มาตรา ๑๙/๒ (คนไทยที่รอพิสูจน์สัญชาติ ยังมีสิทธิในการรักษาพยาบาล ตามมติคณะรัฐมนตรี ๒๐ เมษายน ๒๕๕๘ โดยรัฐสนับสนุนงบประมาณ
              ๒,๒๔๓ บาทต่อหัวต่อปี) และมาตรา ๑๙/๓ ซึ่งนายทะเบียนสามารถไม่รับแจ้งเกิด หรือไม่ออกสูติบัตรได้ในกรณีที่ไม่มีพยานหลักฐานรับรองสถานะการเกิด และไม่มีความชัดเจนเรื่องสัญชาติ
           ๓๑๗  บุคคลที่อยู่ในข่ายที่เชื่อได้ว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทย แต่ไม่สามารถน�าเสนอพยานหลักฐานทางราชการได้



           162 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168