Page 158 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 158
บทที่ ๕ การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
ของบุคคล ๖ กลุ่ม
นอกจากนี้ ยังพบ ประชากรที่อยู่ในกลุ่มนี้ซึ่งประสบภาวะความ
ยากล�าบากอย่างมาก คือ กลุ่มผู้เฒ่าไร้สัญชาติ (บุคคลที่มีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป
ซึ่งอยู่ในประเทศไทย) ทั้งสิ้น ๘๐,๑๑๘ คน ในขณะที่มีเด็กและเยาวชน
๒๙๘
ไร้รัฐ ไร้สัญชาติที่อยู่ในสถานศึกษา และไม่มีเอกสารพิสูจน์ตัวบุคคล
(เด็กรหัส G และ P) จ�านวน ๙๐,๙๖๖ คน และเด็กและเยาวชนที่เกิด
นอกประเทศไทยแต่เติบโตในประเทศไทย ซึ่งยังประสบปัญหาการพัฒนา
สถานะบุคคลตามกฎหมายไทย ภาวะปัญหาของสถานะทางกฎหมาย
๒๙๙
ส่งผลให้ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม หรือชนพื้นเมืองที่มีวิถีชีวิตการท�ากินตาม
บรรพบุรุษต้องเผชิญหน้ากับภัยคุกคาม และขาดความมั่นคง ทั้งในการใช้ชีวิต
การท�ามาหากิน และการตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชน
ที่อยู่อาศัย หรือมีวิถีชีวิตที่พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ ๓๐๐
ในส่วนที่เกี่ยวกับปัญหาสิทธิและสถานะบุคคล หลังจากที่รัฐบาลได้เข้าร่วมและเป็นผู้น�าระดับสากลใน Group of
Friends พร้อมกับแสดงความมุ่งมั่นในการด�าเนินมาตรการเพื่อยุติภาวะการไร้รัฐไร้สัญชาติ (Zero Statelessness) ภายใน
หรือก่อนปี ๒๕๖๗ (#IBelong) กอปรกับความพยายามในการด�าเนินนโยบาย และมาตรการป้องกันและปราบปราม
๓๐๑
การค้ามนุษย์ และการน�าแนวทางสนับสนุนการแก้ไขปัญหาสิทธิและสถานะบุคคลซึ่งเปิดโอกาสให้มีการร่วมสนับสนุน
๓๐๒
บทที่
๕
๒๙๘ ส�านักบริหารการทะเบียน ณ วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๐
๒๙๙ เอกชัย ปิ่นแก้ว, รายงานสรุปการสัมมนาทางวิชาการ “ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติและสิทธิในความเป็นพลเมืองของรัฐไทย” จัดโดย กสม. วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ณ
โรงแรมสุโกศล กรุงเทพฯ
๓๐๐ กสม. ได้ตรวจสอบรับเรื่องร้องเรียนตามค�าร้องที่ ๕๖๗/๒๕๕๙ กรณีขอให้ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาด้านสถานะบุคคล รวมทั้งอยู่อาศัยและที่ดินท�ากินให้แก่ชนเผ่ามันนิในพื้นที่จังหวัด
ตรัง พัทลุง และสตูล เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๙ โดยสรุปว่า ชนเผ่ามันนิ ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยและท�ากินในพื้นที่จังหวัดตรัง พัทลุง และสตูล บริเวณแนวเทือกเขาบรรทัด
มีประชากรประมาณ ๓๒๘ คน ผู้ร้องอ้างว่าปัจจุบันชนเผ่ามันนิแบ่งเป็น ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มที่หนึ่ง กลุ่มที่มีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม มีการย้ายสถานที่อาศัยและท�ากินตามสภาพความสมบูรณ์ของ
ธรรมชาติ ออกมาติดต่อกับผู้คนภายนอกเป็นครั้งคราว กลุ่มที่สอง กลุ่มที่อยู่อาศัยตามแนวป่าใกล้เคียงพืชเศรษฐกิจ และกลุ่มที่สาม กลุ่มที่มีตั้งถิ่นฐานถาวร ซึ่งในรอบ ๒๐ ปีที่ผ่านมา
ชนเผ่ามันนิประสบปัญหาการใช้ชีวิตและความเป็นอยู่หลายด้าน เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม แหล่งอาหารน้อยลง ท�าให้ไม่เพียงพอต่อการด�ารงชีพ และเมื่อไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ใน
ป่าก็ถูกเอาเปรียบทางสังคมจากบุคคลภายนอก นอกจากนี้ ยังประสบปัญหาเป็นบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ท�าให้ไม่ได้รับสวัสดิการจากภาครัฐ ซึ่ง กสม. ได้ตรวจสอบสถานการณ์
และประสานการแก้ไขปัญหากับหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ประสานงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐ ระหว่างวันที่ ๙-๑๑ มีนาคม ๒๕๖๐ และเห็นว่า ชนเผ่ามันนิอยู่จริงในพื้นที่ป่าทั้ง ๓ จังหวัด
จึงอาจจะต้องศึกษาให้ละเอียดและรอบคอบเพื่อน�าไปสู่การจัดท�าข้อเสนอแนะ โดยก�าหนดโครงการเสริมสร้างความร่วมมือและการประสานงานภาคีเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหา
ด้านสถานะบุคคล กลุ่มชาติพันธุ์ และชนเผ่าพื้นเมือง (ชนเผ่ามันนิ) พื้นที่จังหวัดตรัง สตูล และพัทลุง (ฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการ ด้านสถานะบุคคลสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์และ
ชนเผ่าพื้นเมือง วันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๐)
๓๐๑ โครงการรณรงค์ระหว่างประเทศเพื่อขจัดการไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ตามการริเริ่มของส�านักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) โดยในส่วนของประเทศไทยเริ่มต้นด�าเนินการ
ตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ ได้ร่วมมือกับรัฐบาลไทย (กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) ในขณะที่ กสม. ท�าหน้าที่ในการติดตามและประเมินสถานการณ์ดังกล่าว
๓๐๒ เอกชัย ปิ่นแก้ว, รายงานสรุปการสัมมนาเชิงปฏิบัติการว่าด้วย “การจัดการปัญหาสถานะบุคคลและสัญชาติ” จัดโดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และ UNHCR ระหว่างวันที่ ๕-๖
กันยายน ๒๕๖๐ ณ เวียงอินทร์ ริเวอร์ไซด์ รีสอร์ท จังหวัดเชียงราย
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 157