Page 165 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 165
ทั้งนี้ กสม. พบปัญหาอุปสรรคส�าคัญ ใน ๗ กลุ่มหลัก คือ
กลุ่มที่หนึ่ง กลุ่มที่มีปัญหาทางนโยบายคนไร้รากเหง้าในประเทศไทย พบว่า (๑) ยังไม่มีกฎหมายการก�าหนดสถานะ
ทางกฎหมายให้แก่คนไร้รากเหง้าทั้งในกลุ่มที่พิสูจน์การเกิดในประเทศไทยได้และกลุ่มที่ไม่อาจพิสูจน์รากเหง้าหรือข้อเท็จ
จริงใด ๆ ของตนเองได้เลย (๒) ยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในทางกฎหมายในการด�าเนินการตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหา
สถานะและสิทธิของบุคคล ๑๘ มกราคม ๒๕๔๘ และ (๓) บุคคลดังกล่าวยังไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานทั้งในส่วนของ
สิทธิที่กฎหมายรับรอง และสิทธิมนุษยชนตามธรรมชาติ อาทิ สิทธิในการได้รับการก�าหนดสถานะทางกฎหมาย สิทธิในการ
ก่อตั้งครอบครัว การท�างานเพื่อเลี้ยงชีพอย่างถูกกฎหมาย รวมถึงการประกอบอาชีพ
กลุ่มที่สอง กลุ่มชาติพันธุ์และชนพื้นเมืองซึ่งไร้สัญชาติ ที่เข้ามาอยู่ และอาศัยอยู่ในประเทศไทยอย่างผสม
กลมกลืนแล้ว พบว่า (๑) ยังขาดนโยบายก�าหนดหลักเกณฑ์การให้สถานะบุคคลตามกฎหมายโดยปรับเปลี่ยนจาก
“คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย แต่ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว”
ให้กลายเป็นบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายและมีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทย” ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
และ (๒) บุคคลดังกล่าวไม่สามารถเข้าถึงสถานะทางกฎหมาย ท�าให้สามารถเข้าถึงหรือมีสิทธิที่ได้รับการรับรองทางกฎหมาย
อาทิ สิทธิในการเดินทาง การท�างาน การเข้ารับการรักษาพยาบาลโดยได้รับหลักประกันสุขภาพ การถือครองที่ดิน หรือที่
ท�ากิน การประกอบกิจการต่าง ๆ โดยมีข้อจ�ากัดตามที่กฎหมายบัญญัติ
กลุ่มที่สาม กลุ่มชาติพันธุ์และชนพื้นเมืองไร้สัญชาติ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ (ผู้เฒ่าไร้สัญชาติ) ที่ต้องใช้
หลักเกณฑ์การขอแปลงสัญชาติเป็นไทย พบว่า (๑) กฎหมาย นโยบาย และหลักเกณฑ์ในการขอแปลงสัญชาติก�าหนด
ให้ใช้ดุลพินิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตามบทบัญญัติในมาตรา ๑๒ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ
พ.ศ. ๒๕๐๘ ยังไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงตามวิถีชีวิต ฐานะทางเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ และ
ชนพื้นเมือง ซึ่งไร้สัญชาติ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ท�าให้บุคคลเหล่านั้น เข้าไม่ถึงความมีสัญชาติ (๒) การแก้ปัญหากลุ่ม
ชาติพันธุ์ และชนพื้นเมืองไร้สัญชาติโดยการก�าหนดให้สถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย ท�าให้ไม่อาจเข้าถึง
สัญชาติ และประเทศไทยไม่สามารถขจัดปัญหาความไร้สัญชาติตามข้อก�าหนดในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
(ข้อ ๑๕) กติกา ICCPR และอนุสัญญา CRC (๓) การแก้ไขปัญหาการไร้รัฐ ไร้สัญชาติในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยการแปลงสัญชาติ
ไม่สามารถด�าเนินการได้จริง หรือเสร็จสิ้นในช่วงอายุของบุคคลนั้น ๆ ได้ และ (๔) ความไร้สัญชาติท�าให้เกิดลักษณะการ
เลือกปฏิบัติจากเจตคติที่เกิดขึ้น อาทิ การเข้ารับการบริการของรัฐในรูปแบบต่าง ๆ การผลักเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์
และการทุจริตในกระบวนการต่าง ๆ
164 | รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐