Page 167 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 167

ที่มิได้รับการยอมรับ หรือการมีข้อพิพาททางกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในการถือครอง หรือใช้ประโยชน์ใน
           ที่อยู่อาศัย และที่ท�ากิน
                              ๓๑๙

           ข้อเสนอแนะ



                กสม. มีข้อเสนอแนะต่อการแก้ไขปัญหาอุปสรรคใน ๗ กลุ่มหลักข้างต้น คือ
                กลุ่มที่หนึ่ง กลุ่มที่มีปัญหาทางนโยบายคนไร้รากเหง้าในประเทศไทย เห็นสมควรให้ (๑) เร่งพิจารณา และออก
           กฎหมายที่จะน�ามาซึ่งการแก้ไขปัญหาคนไร้รากเหง้าในประเทศไทย และ (๒) ขยายกรอบหลักเกณฑ์การก�าหนดสถานะ

           บุคคลตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๙ ในส่วนของกลุ่มคนไร้รากเหง้าที่ได้รับการส�ารวจและจัดท�าทะเบียน
           ประวัติบุคคลตามกฎหมายทะเบียนราษฎร หรือตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ตามมติคณะ
           รัฐมนตรี วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๔๘ ซึ่งไม่อาจพิสูจน์ว่าเกิดในประเทศไทยได้ ให้ได้รับสิทธิในสถานะเป็นคนเข้าเมืองโดย
           ชอบด้วยกฎหมาย และมีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทย



                กลุ่มที่สอง กลุ่มชาติพันธุ์ และชนพื้นเมืองซึ่งไร้สัญชาติ ที่เข้ามาอยู่และอาศัยอยู่ในประเทศไทย อย่างผสมกลมกลืนแล้ว
           เห็นสมควรให้ (๑) ขยายกรอบหลักเกณฑ์การก�าหนด
           สถานะบุคคลตามมติคณะรัฐมนตรี ๗ ธันวาคม ๒๕๕๙ ให้

           ครอบคลุมกลุ่มชาติพันธุ์ และชนพื้นเมืองที่ได้รับการส�ารวจ
           และจัดท�าทะเบียน ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียน
           ราษฎร ที่อพยพเข้ามาและอาศัยอยู่ในประเทศไทยเกินกว่า
           ๑๐ ปี ให้สามารถขอสถานะคนเข้าเมืองโดยชอบด้วย

           กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองได้ และ (๒) การมีมติคณะ
           รัฐมนตรีให้สถานะตามกฎหมาย และยกเว้นค่าธรรมเนียม
           โดยหลักเกณฑ์ในการเข้าถึงสถานะต้องเหมาะสมกับสภาพ
           ความเป็นจริงของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์

           และชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย


                กลุ่มที่สาม กลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองไร้สัญชาติ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ (ผู้เฒ่าไร้สัญชาติ) ที่ต้องใช้หลักเกณฑ์
           การขอแปลงสัญชาติเป็นไทย เห็นสมควรให้ (๑) ปรับปรุงและแก้ไข หลักเกณฑ์กรอบการใช้ดุลพินิจของรัฐมนตรีว่าการ

           กระทรวงมหาดไทยอันว่าด้วยการขอสัญชาติไทยโดยการสมรส (มาตรา ๙) และการขอแปลงสัญชาติเป็นไทย (มาตรา ๑๐
           มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ วรรคสอง และมาตรา ๑๒/๑) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ ส�าหรับกลุ่มชาติพันธุ์และ
           ชนพื้นเมืองซึ่งไร้สัญชาติ โดยเฉพาะในประเด็นที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงแห่งวิถีชีวิต ฐานะทางเศรษฐกิจ และความ
           เป็นอยู่ อันเป็นอุปสรรคต่อการเข้าสู่ความมีสัญชาติไทย อาทิ อายุของกลุ่มซึ่งจะเข้าหลักเกณฑ์ของผู้เฒ่าไร้สัญชาติ โดย

           ปรับลดจาก ๖๕ ปี เป็น ๖๐ ปี ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ การแก้ไขปรับลดหลักเกณฑ์รายได้ การก�าหนด
           หลักเกณฑ์พยานหลักฐานในการเสียภาษี (การจ่ายภาษีย้อนหลัง) การก�าหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยหลักฐานอันเกี่ยวกับ
           การประกอบอาชีพ การลดขั้นตอน หรือกลไกในการตรวจสอบประวัติต่าง ๆ ซึ่งไม่มีความจ�าเป็นในบางกรณี หรือการสร้างกลไก
           ความร่วมมือในการตรวจสอบเพื่อความรวดเร็วในการด�าเนินการ


           ๓๑๙  เอกชัย ปิ่นแก้ว, รายงานสรุป (๑) การประชุมสมัชชาระดับชาติว่าด้วยสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๓ และกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ประจ�าปี
              ๒๕๖๐ ระหว่างวันที่ ๘-๙ สิงหาคม ๒๕๖๐ ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดโดยเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.) สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (สชพ.) ร่วมกับองค์กร
              และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงส�านักงาน กสม. และ (๒) งานวันรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเล ครั้งที่ ๘ ระหว่างวันที่ ๑๘-๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ณ ชุมชนทับตะวัน ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า
              จ.พังงา จัดโดยเครือข่ายชาวเลในพื้นที่ ๕ จังหวัดอันดามัน ร่วมกับองค์กร เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และส�านักงาน กสม.


           166 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172