Page 162 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 162

บทที่ ๕ การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
                                                                                 ของบุคคล ๖ กลุ่ม



            สิทธิของบุคคลที่ได้รับการส�ารวจและจัดท�ารายการบุคคลไปแล้วจ�านวนมาก ทั้งนี้ จากการคาดการณ์ของหน่วยงานรัฐ
                                                                                                            ๓๑๒
            พบว่า มีจ�านวนบุคคลที่ตกหล่นจ�านวนมากกว่า ๒๐๐,๐๐๐ คน โดยแบ่งเป็นชนกลุ่มน้อย ๑๙ กลุ่ม ที่อพยพเข้ามาอาศัย
            อยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และตกส�ารวจจากการด�าเนินการตั้งแต่ในปี ๒๕๔๒ ปี ๒๕๕๐ จนถึงการปิดการส�ารวจ
            (วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๔) ทั้งนี้ ยังพบข้อโต้แย้งเรื่องจ�านวนบุคคลที่ตกหล่น เนื่องจากมีการส�ารวจบุคคลต่อเนื่องตั้งแต่

            ปี ๒๕๒๗ ท�าให้โอกาสที่บุคคลจะตกหล่นการส�ารวจมีไม่มากนัก ในขณะที่ประเทศไทยรับรองชนกลุ่มน้อยที่เข้ามาอยู่ใน
            ประเทศไทยก่อนหรือภายในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๒ เท่านั้น ที่จะเข้าข่ายการเป็นชนกลุ่มน้อยที่ตกส�ารวจ (ในกรณีเด็ก
            นักเรียน และบุคคลไร้รากเหง้า ต้องเข้ามาอยู่ในประเทศไทยก่อนหรือภายในวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๔๘) แต่หลังจากที่มีการ
            ประกาศให้แสดงตนแล้ว บุคคลที่มิได้แสดงตนจึงถูกจ�าหน่ายรายการบุคคลออกจากทะเบียนราษฎร (กลุ่มซึ่งควรเป็นบุคคล

            ประเภทรหัส ๐ กลุ่ม ๘๙) มีจ�านวนมากกว่า ๑๕๐,๐๐๐ คน ซึ่งในกรณีที่บุคคลมีข้อโต้แย้ง (อาทิ ไม่ทราบข้อมูลข่าวสาร
            หรืออื่น ๆ) ก็มีการตรวจสอบหลักฐาน พยาน และพิจารณาคืนรายการบุคคลในกรณีตรวจสอบได้เป็นรายกรณี กสม. เห็นว่า
            การกระท�าดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสิทธิของบุคคลที่ถูกเพิกถอนรายการบุคคลในขณะที่การด�าเนินการแก้ไขปัญหา หรือ
            การตรวจสอบใด ๆ ซึ่งใช้ระยะเวลานาน



                  กรณีการแปลงสัญชาติส�าหรับบุคคลต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย โดยพิจารณาลักษณะของจุด
            เกาะเกี่ยวส�าคัญ อาทิ การสมรสของหญิงต่างด้าวกับชายสัญชาติไทย (การถือทะเบียนสมรสนานกว่า ๓ ปี  หรือมีทะเบียนสมรส
            ๑ ปีขึ้นไปกรณีมีบุตร ทั้งนี้ ชายสัญชาติไทยต้องมีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป) หากมิใช่บุคคลที่เป็นชนกลุ่ม

            น้อย ๑๙ กลุ่ม (ตามมติคณะรัฐมนตรี) ให้ยื่นค�าขอแปลงสัญชาติต่อต�ารวจสันติบาลในการด�าเนินการ ในส่วนของบุคคลตาม
            มาตรา ๓๘/๒ จะเข้าข่ายเป็นบุคคลต่างด้าว (ที่มิใช่ชนกลุ่มน้อย) แต่เป็นบุคคลต่างด้าวเข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
                                                                                                            ๓๑๓
            นอกจากนั้น คุณสมบัติของการขอแปลงสัญชาติตามการสมรส บุคคลจะต้องมีสถานภาพการสมรสคงอยู่จนถึงวันที่ได้รับ
            สัญชาติ แต่หากเป็นบุคคลที่เป็นชนกลุ่มน้อย ๑๙ กลุ่ม (ตามมติคณะรัฐมนตรี) ให้ยื่นค�าขอที่ส�านักทะเบียนในพื้นที่ โดย

            การขอแปลงสัญชาติ มีเอกสารมากกว่าการขอสัญชาติตามสามี เนื่องจากจะต้องมีใบถิ่นที่อยู่ (ใบต่างด้าว) การอยู่อาศัยใน
            ราชอาณาจักรอย่างต่อเนื่องมากกว่า ๕ ปี การมีใบอนุญาตท�างาน (work permit) และการเสียภาษีต่อเนื่อง ๓ ปีติดต่อกัน
            การมีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่หรือมากกว่า ๘๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป (เว้นแต่กรณีที่เป็นชนกลุ่มน้อยทั่วไป ก�าหนดให้ต้องมีรายได้
            ต่อเดือน ๔๐,๐๐๐ บาท แต่หากเป็นคนต่างด้าวที่มีจุดเกาะเกี่ยวกับสัญชาติไทย ให้ลดลงเหลือกึ่งหนึ่ง) และมีขั้นตอน

            หลังจากที่ยื่นเอกสารขอแปลง ที่จะต้องน�าเสนอตามขั้นตอนต่าง ๆ ยังมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และมากกว่าการขอสัญชาติตามสามี
            ซึ่งส่งผลให้บุคคลที่มีปัญหาสถานะในกลุ่มที่ไม่สามารถมีคุณสมบัติตามข้อก�าหนดดังกล่าวต้องประสบปัญหาการเข้าถึง
            สิทธิต่าง ๆ
                                                                                                                  บทที่
                                                                                                                   ๕
                  กรณีการไร้รัฐและไร้สัญชาติ การด�าเนินการจะแยกออกจากกัน เนื่องจากมีกระบวนการแก้ไข และมีกฎหมาย
            ที่แตกต่างกัน การไร้รัฐมีลักษณะข้อเท็จจริงอีกนัยหนึ่ง คือ การไร้เอกสารพิสูจน์ตน (undocumented) ซึ่งท�าให้บุคคลไม่มี
            สิทธิทางแพ่ง เนื่องจากขาดสถานะบุคคลทางกฎหมาย (ขาดเอกสารมหาชนที่รับรองความสัมพันธ์กับรัฐ) ในขณะกลุ่มคน
            ที่มีการเคลื่อนไหว/อพยพไปตามลักษณะการด�าเนินชีวิตก็จะเป็นบุคคลเร่ร่อน และกลายเป็นคนไร้เอกสารพิสูจน์ตน นอกจากนั้น

            ยังมีบุคคลที่ปฏิเสธการจดทะเบียนสถานะบุคคล  และบุคคลที่มีส�านึกเป็นไทยแต่ไม่มีเอกสารพิสูจน์ตน อีกทั้งยังมีบุคคล
                                                   ๓๑๔
            ต่างด้าวที่ไร้รัฐ (กลุ่มที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยนานแล้ว ตกส�ารวจ หรือไม่มีเอกสารพิสูจน์ตน) ในกรณีดังกล่าว





            ๓๑๒  เอกชัย ปิ่นแก้ว, รายงานสรุปการสัมมนาเชิงปฏิบัติการว่าด้วย “การจัดการปัญหาสถานะบุคคลและสัญชาติ” จัดโดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และ UNHCR ระหว่างวันที่ ๕-๖
                กันยายน ๒๕๖๐ ณ เวียงอินทร์ ริเวอร์ไซด์ รีสอร์ท จังหวัดเชียงราย
            ๓๑๓  มาตรา ๓๘/๒
            ๓๑๔  โดยเหตุผลต่าง ๆ อาทิ กรณีของบุคคลเร่ร่อนรู้ส�านึกตนตอนอายุ ๖ ปี ซึ่งมีจุดอ้างอิงถึงชุมชนที่บึงกาฬ ซึ่งอยู่ติดชายแดนไทย-ลาว (การสัมภาษณ์บุคลากรผู้ปฏิบัติงานของกรมการปกครอง
                กระทรวงมหาดไทย วันที่ ๔-๕ สิงหาคม ๒๕๖๐)


                                                                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 161
   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167