Page 160 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 160
บทที่ ๕ การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
ของบุคคล ๖ กลุ่ม
การประเมินสถานการณ์ ปัญหา และอุปสรรค
กสม. ประเมินสถานการณ์ และมีข้อสังเกตต่อการด�าเนินการต่าง ๆ ดังนี้
กรณีการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคล ณ ปัจจุบัน มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๙ เน้นการแก้ไข
ปัญหาสถานะบุคคลของบุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติ เนื่องจากเห็นความส�าคัญของวิกฤติการณ์การค้ามนุษย์ โดยเชื่อมโยง
๓๐๔
กับการไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาล โดยกระทรวงมหาดไทยได้แก้ไขกฎหมายต่าง ๆ เป็นระยะ อาทิ การแก้ไข
พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ จ�านวน ๕ ครั้ง โดยแต่ละครั้งมีเป้าหมายหรือเน้นกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะที่แตกต่างกัน
อาทิ การแก้ไขปัญหาสถานะของบุคคลที่เสียสัญชาติจากการเสียดินแดน ซึ่งต้องมีการรับรองหรือหลักฐานที่ชัดเจน
เกี่ยวกับการเสียสัญชาติตามหลักดังกล่าว (พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๕๕ ) อาทิ ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า
๓๐๕
เชื้อสายไทย มะริด ทวาย ตะนาวศรี และเกาะกง ซึ่งเสียดินแดนในปี ๒๔๑๑ แต่ยังพบว่า มีบางกลุ่มที่มีการร้องเรียน อาทิ
กลุ่มบุคคลเชื้อสายไทยสัญชาติพม่าหรือคนไทยพลัดถิ่นในพื้นที่แม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งตามข้อเท็จจริงมิได้เป็นพื้นที่ซึ่งมี
การเสียดินแดน หรือกลุ่มไทลื้อ (ซึ่งไม่มีประวัติการขึ้นทะเบียนเป็นบุคคลเชื้อสายไทย) ในพื้นที่ชายแดนจังหวัดพะเยา
๓๐๖
ซึ่งเชื่อมโยงกับดินแดน (สิบสองจุไท) โดยเป็นส่วนที่ประเทศไทยเสียไปในปี ๒๔๑๖ ในส่วนของเด็กนักเรียนที่มีเลขประจ�า
ตัวประชาชนขึ้นต้นด้วยตัวอักษร (G) รัฐบาลโดยกระทรวงมหาดไทย ได้มีหนังสือ ที่ มท ๐๓๐๙.๑/ว๗๑๖๗ ลงวันที่ ๒๑
ธันวาคม ๒๕๖๐ แต่งตั้งคณะท�างานแก้ไขปัญหาสถานะทางทะเบียนราษฎรของเด็กนักเรียนที่มีเลขประจ�าตัวประชาชน
ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร (G) ในระดับจังหวัด หรือกรุงเทพมหานคร โดยให้ด�าเนินการแก้ไขปัญหาตามแนวทางที่ส�านักทะเบียนกลาง
กรมการปกครองก�าหนด
บทที่
๕
๓๐๔ คณะรัฐมนตรี อนุมัติ “การแก้ไขปัญหาเรื่องสัญชาติและสถานะบุคคลของเด็กนักเรียน นักศึกษาและบุคคลไร้สัญชาติที่เกิดในราชอาณาจักรไทย” เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๙ ดูข้อมูลเพิ่ม
เติมได้ที่ <www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/09/10.PDF>
๓๐๕ ดูข้อมูลเพิ่มเติม <www.stateless4child.net>
๓๐๖ ศาลปกครองกลางมีค�าสั่งวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยคืนสัญชาติไทยให้คนไทยพลัดถิ่นจากบ้านห้วยส้าน อ�าเภอแม่สอด จังหวัดตาก จ�านวน ๓๕๑ คน ภายหลังบุคคล
ทั้งหมดยื่นฟ้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กับพวกรวม ๔ ราย ไม่รับรองสัญชาติให้แก่ชาวบ้านกลุ่มดังกล่าว ซึ่งศาลปกครองเห็นว่าค�าสั่งที่ไม่รับรองสัญชาตินั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จึงให้กระทรวงมหาดไทยคืนสัญชาติไทยให้แก่คนไทยพลัดถิ่นทั้ง ๓๕๑ คน โดยเหตุผลเพราะมีหลักฐานทางประวิติศาสตร์ว่าชาวบ้านกลุ่มนี้ต้องกลายเป็นคนในบังคับของประเทศอื่นโดยเหตุ
อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของราชอาณาจักรไทยในปี ๒๔๑๑ และปัจจุบันไม่ปรากฏว่าชาวบ้านกลุ่มนี้ถือสัญชาติของประเทศอื่น แต่ได้อพยพเข้ามาอยู่ในจังหวัดตาก ซึ่งเป็น
อาณาเขตของประเทศไทยตั้งแต่ปี ๒๕๑๕ โดยทั้งหมดมีชื่อตัวชื่อสกุลเป็นภาษาไทย มีความเป็นอยู่วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีเช่นเดียวกับคนไทยภาคเหนือ รวมทั้งได้รับการส�ารวจ
และจัดท�าทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีก�าหนด ตามนัยกฎกระทรวงการพิสูจน์และรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น ๒๕๕๕
ลงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕ จึงฟังได้ว่าชาวบ้านกลุ่มนี้เป็นคนไทยพลัดถิ่นตามนิยามในมาตรา ๕ พระราชบัญญัติสัญชาติ ๒๕๐๘ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๕ จึงย่อมต้องได้
รับการรับรองจากกระทรวงมหาดไทย ซึ่งจะมีผลให้ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามมาตรา ๙/๖ วรรคหนึ่งของพระราชบัญญัติเดียวกัน ซึ่งต่อมาวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๐ คณะกรรมการ
รับรองคนไทยพลัดถิ่นมีมติ ไม่อุทธรณ์โต้แย้งค�าพิพากษาศาลปกครองกลางดังกล่าว
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 159