Page 166 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 166
บทที่ ๕ การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
ของบุคคล ๖ กลุ่ม
กลุ่มที่สี่ กลุ่มเด็กนักเรียนไร้รัฐและไร้สัญชาติ (เด็กนักเรียนติดรหัส G รหัส P และในโรงเรียนต�ารวจตระเวน
ชายแดน) ที่ต้องการจัดการก�าหนดสถานะทางกฎหมาย พบว่า เด็กและเยาวชนไร้รัฐ ไร้สัญชาติไม่สามารถเข้าถึง
สิทธิมนุษยชนต่าง ๆ และต้องเผชิญความเสี่ยงต่อการถูกจับกุมด�าเนินคดีในข้อหาคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง การเข้าสู่
กระบวนการต่าง ๆ อันมิชอบด้วยกฎหมาย และเสี่ยงต่อการกระท�าความผิดต่อกฎหมาย (อาทิ ยาเสพติด การค้ามนุษย์
การทุจริต และการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ) ท�าให้เกิดความไม่มั่นคงในการด�ารงชีวิตโดยทั่วไป ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต
และพัฒนาการในด้านต่าง ๆ รวมถึงสิทธิและโอกาสในการถูกจ้างงาน และได้ท�างานตามความสามารถ สิทธิในการได้รับการ
ประกันสุขภาพที่ดี สิทธิและเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายหรือเดินทาง สิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และกองทุนต่าง ๆ
ของรัฐ (อาทิ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และกองทุนเงินทดแทน)
กลุ่มที่ห้า กลุ่มตกหล่นการส�ารวจหรือได้รับการส�ารวจ ยังไม่มีการจัดท�าทะเบียนและบัตรประจ�าตัวบุคคลตาม
การส�ารวจกลุ่มบุคคลประเภทที่ ๑ ตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล วันที่ ๑๘ มกราคม
๒๕๔๘) (กลุ่มซึ่งควรเป็นบุคคลประเภทรหัส ๐ กลุ่ม ๘๙) พบว่า ยังมีบุคคลที่ตกหล่นต่อสิทธิในสถานะอันพึงมีพึงได้
อาทิ สิทธิในการอาศัยอยู่ในประเทศโดยมีกฎหมายรองรับ สิทธิในการขออนุญาตท�างานตามกฎหมาย สิทธิในการได้รับ
หลักประกันสุขภาพ และสิทธิในการเดินทาง โดยบุคคลดังกล่าวเสี่ยงที่จะตกเป็นคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติถาวร และมีโอกาสถูก
จับกุม คุมขัง และด�าเนินคดีในฐานความผิดคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ในระหว่างที่รอการเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สิทธิ
ในสถานะ รวมถึงความเสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในด้านอื่น ๆ ด้วย
กลุ่มที่หก กลุ่มชาติพันธุ์และชนพื้นเมืองที่ได้รับการแก้ไขปัญหาความไร้รัฐ โดยบันทึกตัวบุคคลในระบบทะเบียน
ราษฎร ตามมาตรา ๓๘ วรรค ๒ แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ (บุคคลประเภทรหัส ๐ กลุ่ม ๐๐)
แต่ยังไม่มีการก�าหนดสถานะ พบว่า เป็นกลุ่มบุคคลที่ได้รับการส�ารวจและจัดท�าทะเบียนประวัติ เพื่อแก้ไขปัญหาความไร้รัฐ
แต่ยังไม่มีการก�าหนดสถานะบุคคลในประเภทหนึ่งประเภทใด เนื่องจากยังต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งในการพิสูจน์สถานะที่ถูก
ต้องตามกฎหมาย ท�าให้ยังเป็น “คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง” ซึ่งเผชิญกับความเสี่ยงในการด�ารงชีวิต การถูกจับกุมคุมขัง
หรือการผลักดันออกนอกประเทศ รวมถึงการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในด้านต่าง ๆ
นอกจากนั้น ในส่วนของนโยบายผลักดันและขับเคลื่อนกลไกการขจัดปัญหาความไร้รัฐในภาคปฏิบัติของ
หน่วยงานภายใต้กระทรวงมหาดไทย พบว่า ขอบเขตและสถานการณ์ปัญหามีความรุนแรงและจ�านวนมาก ในขณะที่
๓๑๘
ยังมีข้อจ�ากัดในการจัดการปัญหาของภาครัฐ และเอกชน ซึ่งท�าให้เกิดสภาพปัญหาคอขวด (bottleneck) ในการขับเคลื่อนกลไก
ในการจัดการปัญหาส�าหรับผู้ประสบปัญหาสถานะบุคคล ดังจะพบได้จากการปฏิเสธค�าร้องในการด�าเนินการแก้ไขปัญหา
สถานะ การรับค�าร้องแต่ไม่สามารถด�าเนินการให้แล้วเสร็จได้ การปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามกฎหมายปกครองในกระบวนการ บทที่
๕
แก้ไขปัญหาสถานะ รวมถึงการทุจริตในกระบวนการจัดการปัญหาสถานะ
กลุ่มที่เจ็ด ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม หรือชนพื้นเมืองที่มีวิถีชีวิตการท�ากินตามบรรพบุรุษ พบว่า ชุมชนโดยส่วนใหญ่
เป็นกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงและในพื้นที่ป่าทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก ในเทือกเขาบรรทัดภาคใต้ และชุมชนในพื้นที่
๕ จังหวัดติดทะเลอันดามัน เผชิญปัญหาความมั่นคงในที่อยู่อาศัย พื้นที่ท�ากิน พื้นที่ทางจิตวิญาณ การสืบทอดภูมิปัญญา
วัฒนธรรม และภาษา ท่ามกลางกระแสการพัฒนา รวมถึงการขยายตัวของธุรกิจต่าง ๆ การประกาศนโยบาย หรือค�าสั่งต่าง ๆ
ในการพัฒนา หรือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ท�าให้มีการจ�ากัดสิทธิในการใช้ และการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ
การไม่ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย และไม่ได้รับ/ไม่สามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานต่าง ๆ โดยเหตุของการเป็นชุมชน
๓๑๘ ข้อเท็จจริงแห่งสภาพปัญหาและแนวคิดในการจัดการจากการผลการศึกษาวิจัยตามโครงการวิจัยการเข้าถึงสิทธิในสัญชาติในประเทศไทย : บทวิเคราะห์ปัญหาทางปฏิบัติและข้อเสนอแนะ
(Nationality procedures in Thailand : Bottlenecks analysis and recommendation in addressing implementation challenges) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โดย ดร.ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล และชุติ งามอุรุเลิศ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 165