Page 157 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 157
จากการตรวจสอบกรณีร้องเรียน ทั้งสิ้น
๗๕ ค�าร้อง และการจัดท�ารายงานผลการพิจารณา
๒๙๕
จ�านวน ๑๐ ฉบับ กสม. พบสถานการณ์ที่เกี่ยวกับ
สิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ ชนพื้นเมือง คนไร้รัฐ
ไร้สัญชาติ และประชากรข้ามชาติ ในประเด็นส�าคัญ
คือ ปัญหาข้อติดขัดในการเข้าถึงสถานะบุคคล
ทางกฎหมายซึ่งท�าให้เกิดข้อจ�ากัดในการเข้าถึง
สิทธิในด้านต่าง ๆ เนื่องจากการขาดเอกสารพิสูจน์ตน
การขาดความชัดเจน หรือปัญหาข้อติดขัดทาง
นโยบาย กฎหมายเกี่ยวกับสถานะบุคคล และ
ปัญหาข้อติดขัดการเพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎร และ
การขอมีบัตรประจ�าตัวประชาชน การเป็นบุคคล
ไร้รากเหง้าโดยเหตุต่าง ๆ การถูกจ�าหน่ายหรือการระงับความเคลื่อนไหวรายการบุคคลทะเบียนราษฎร การใช้
๒๙๖
สิทธิของบุคคลต่างด้าว หรือบุตรของแรงงานต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทย และการขาดความชัดเจนของกฎหมาย นโยบาย
หรือการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการขอแปลงสัญชาติ (เป็นไทย) ส�าหรับบุคคลไร้สัญชาติในบางกรณี (อาทิ ผู้ท�าคุณประโยชน์ )
๒๙๗
๒๙๕ เป็นค�าร้องใน กสม. ชุดที่สอง ๔๔ ค�าร้อง และค�าร้องใน กสม. ชุดที่สาม ๓๑ ค�าร้อง (ข้อมูล ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๐)
๒๙๖ กสม. ได้ตรวจสอบ (๑) ค�าร้องที่ ๓๖๘/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๙ กรณีชาวบ้านต�าบลอินทขิล อ�าเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จ�านวน ๕,๐๐๘ ราย ได้ถูกจ�าหน่ายชื่อ
และระงับรายการบุคคลทางทะเบียนราษฎร ทร. ๙๗ ในเดือนมีนาคม ๒๕๔๗ ถึงเดือนกันยายน ๒๕๔๘ ซึ่งได้รับผลกระทบต่อสิทธิต่างๆ และ (๒) ค�าร้องที่ ๒๖๒/๒๕๕๙ ลงวันที่
๒๐ เมษายน ๒๕๕๙ กรณีชาวบ้านอ�าเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ได้ถูกจ�าหน่ายรายการบุคคลทางทะเบียนราษฎร โดยยกเลิกบัตรประจ�าตัวบุคคลไม่มีสถานะบุคคลทางทะเบียน
ที่เคยส�ารวจไว้ออกจากทะเบียนราษฎรอ�าเภอเวียงแหง และยกเลิกบัตรประจ�าตัวบุคคล ไม่มีสถานะบุคคลทางทะเบียน ท�าให้เสียสิทธิและสวัสดิการขั้นพื้นฐานและได้รับความเดือดร้อน
โดยติดตามสถานการณ์และประสานการแก้ไขปัญหา ซึ่งได้ทราบข้อเท็จจริงว่า การจ�าหน่ายรายการสถานะบุคคลตามกรณีร้องเรียนดังกล่าวเกิดจากข้อสงสัยการทุจริต
การจัดท�าทะเบียนราษฎรในอ�าเภอแม่แตงและอ�าเภอเวียงแหง ท�าให้มีบุคคลที่ถูกจ�าหน่ายรายการบุคคลออกจากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรและ/หรือระงับความเคลื่อนไหวทางทะเบียนราษฎร
(แบบเหมารวม) รวมถึงการเพิกถอนสัญชาติไทย ซึ่งเจ้าหน้าที่ทะเบียนฯ (อ�าเภอแม่แตงและอ�าเภอเวียงแหง) ไม่สามารถด�าเนินการแก้ไขปัญหาได้ ประกอบกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)
ได้ตรวจสอบเหตุทุจริตดังกล่าวด้วย กสม. จึงพยายามใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา โดยจัดท�าบันทึกข้อตกลงร่วม (MOU) กับกระทรวงมหาดไทย (โดยกรมการปกครอง)
จังหวัดเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (โดยคณะนิติศาสตร์) และมูลนิธิเครือข่ายสถานะบุคคล (คสบ.) เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ในวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๐ ทั้งนี้ ในการประชุม
ระหว่างวันที่ ๑๔-๑๕ กันยายน ๒๕๖๐ กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการกระท�าดังกล่าวจะใช้สิทธิผ่านกระบวนการศาลปกครองเพื่อให้พิจารณาเพิกถอนค�าสั่ง หรือประกาศดังกล่าวเพื่อ
เป็นการคุ้มครองสิทธิของบุคคล ในขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะเร่งพิจารณาและตรวจสอบกรณีที่สงสัยว่ามีการทุจริต โดยจะด�าเนินการแยกเป็นรายกรณีไป
๒๙๗ กรณี นางอายุ นามเทพ ซึ่งเป็นบุคคลเข้าเมือง และท�าคุณประโยชน์ ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการตามมาตรา ๒๕ ให้ได้รับสัญชาติไทยในวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๐ ซึ่งปัจจุบันอยู่
ระหว่างการเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่ออนุมัติสัญชาติ และน�าความกราบบังคมทูลขอพระราชานุญาต และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
156 | รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐