Page 155 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 155

นโยบายและแนวทางการส่งเสริมพัฒนา
           คุณภาพชีวิตคนพิการที่ไม่มีสัญชาติไทย โดย กสม. ได้
           มีหนังสือถึงกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
           ของมนุษย์ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

           และคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคน
           พิการแห่งชาติ เพื่อให้เร่งรัดการออกระเบียบการช่วยเหลือ
           คนพิการซึ่งไม่มีสถานะทางทะเบียน ตามความในมาตรา
           ๑๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ

           ชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราช
           บัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ฉบับที่ ๒)
           พ.ศ. ๒๕๕๖ ทั้งนี้ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
           คนพิการ ชี้แจงว่า ระเบียบว่าด้วยการออกบัตรประจ�าตัวคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๖ ไม่ได้ก�าหนดเงื่อนไขการออกบัตรประจ�า

           ตัวคนพิการซึ่งไม่มีสถานะทางทะเบียนเอาไว้ แต่กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ได้พิจารณาแนวทางใน
           การให้ความช่วยเหลือบุคคลกลุ่มนี้ให้ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานและสวัสดิการที่เหมาะสมจากรัฐ โดยก�าหนดไว้ในร่างระเบียบ
           การช่วยเหลือที่ออกตามความในมาตรา ๑๙/๑ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย
                                                                                                          ๒๙๑

           การประเมินสถานการณ์ ปัญหา และอุปสรรค



                การศึกษาของคนพิการ การจัดการศึกษาส�าหรับคนพิการเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญและสนธิสัญญา
           หลักด้านสิทธิมนุษยชน และเป็นสิ่งที่รัฐต้องจัดให้อย่างเท่าเทียมกับการศึกษาของคนปกติโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ปัจจุบัน

           รัฐโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีความพยายามสร้างความเท่าเทียมให้แก่คนพิการ โดยส่งเสริมให้คนพิการเข้าถึงการศึกษา
           และมีการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลยังพบว่ามีคนพิการที่อายุถึงเกณฑ์แต่ไม่ได้รับการศึกษาจ�านวน
           มากถึง ๓๑๐,๓๓๙ คน  โดยคนพิการส่วนใหญ่ที่ได้รับการศึกษามีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา สะท้อนให้เห็นว่า
                             ๒๙๒
           คนพิการยังมีข้อจ�ากัดในการเข้าถึงการศึกษา โดยมีหลายสาเหตุ กล่าวคือ การขาดแคลนสิ่งอ�านวยความสะดวกในการ

           ศึกษาที่เหมาะสมกับประเภทความพิการ สื่อสารสนเทศ หรือเครื่องมือช่วยส�าหรับคนพิการ ตลอดจนการฝึกอบรมบุคลากร
           ทางการศึกษาส�าหรับคนพิการ เป็นต้น
                                          ๒๙๓

                การจ้างงานคนพิการ แม้รัฐจะพยายามส่งเสริมและขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการจ้างงานคนพิการในทุกภาคส่วน

           อย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม จากข้อเท็จจริงพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงเลือกช่องทางตามมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติ
           ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ คือการส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริม
           และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามจ�านวนที่กฎหมายก�าหนด ซึ่งท�าให้คนพิการไม่ได้รับประโยชน์โดยตรงเมื่อเทียบกับ
           การจ้างแรงงานคนพิการหรือการให้สัมปทานสถานที่จ�าหน่ายสินค้าหรือบริการจัดจ้างเหมาช่วงงาน ตามมาตรา ๓๕ ซึ่ง

           จะท�าให้คนพิการได้รับประโยชน์โดยตรง และสามารถแสดงศักยภาพของตนท�าให้คนพิการมีความภาคภูมิใจในตนเอง







           ๒๙๑  ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ข่าวแจก, กสม. เสนอกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เร่งรัดออกระเบียบช่วยเหลือ “คนพิการไร้รัฐ – ไร้รัฐไร้สัญชาติ”
              โดยเร็ว, ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐
           ๒๙๒  รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ข้อมูลสิ้นสุด ณ วันที่ ๑๕ กันยายน
              ๒๕๖๐ (สืบค้นวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๖๑)
           ๒๙๓  ข้อเสนอแนะคณะกรรมการประจ�าอนุสัญญา CRPD


           154 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160