Page 156 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 156

บทที่ ๕ การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
                                                                                 ของบุคคล ๖ กลุ่ม



                  การเข้าถึงบริการสาธารณสุขของคนพิการ ในปี ๒๕๖๐ รัฐโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักและเห็นความส�าคัญ
            ของปัญหาความเหลื่อมล�้าเรื่องสิทธิประโยชน์ในบริการสาธารณสุขของคนพิการ จึงได้มีการด�าเนินการร่วมกันเพื่อแก้ไข
            ปัญหาความเหลื่อมล�้าของสิทธิประโยชน์ส�าหรับคนพิการในระบบประกันสุขภาพภาครัฐ เพื่อให้คนพิการได้รับประโยชน์
            จากการใช้บริการสาธารณสุขอย่างสูงสุด



                  การเข้าถึงสิ่งอ�านวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ  แม้รัฐมีการขับเคลื่อน ส่งเสริมการเข้าถึงสิ่งอ�านวยความ
            สะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ผลของการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ภาค
            ตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือซึ่งมีคนพิการอาศัยอยู่มากกว่าร้อยละ ๖๐ โดยคนพิการส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท

            และพื้นที่ห่างไกล รัฐควรเร่งการด�าเนินการดังกล่าวให้ครอบคลุมพื้นที่ชนบท ที่มีคนพิการจ�านวนมากอาศัยอยู่


            ข้อเสนอแนะ



                  ๑. รัฐโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งด�าเนินการออกระเบียบการช่วยเหลือคนพิการซึ่งไม่มีสถานะการทะเบียน
            ราษฎร ตามความในมาตรา ๑๙/๑ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งแก้ไข
            เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖
                  ๒. รัฐควรด�าเนินการให้มีสิ่งอ�านวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะให้ครอบคลุมทั่วถึงในพื้นที่ชนบทซึ่งมีคนพิการ

            อาศัยอยู่เป็นจ�านวนมาก


            ๕.๖ สิทธิกลุ่มชาติพันธุ์ ชนพื้นเมือง คนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ และประชากรข้ามชาติ


            ภาพรวม



                  กสม. ประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์
            ชนพื้นเมือง คนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ และประชาการข้ามชาติ
                                                         ๒๙๔
            พบว่า ในปี ๒๕๖๐ สังคมไทยมีความเป็นพหุลักษณ์ทาง
            สังคมและวัฒนธรรม มีกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งน�าเสนออัตลักษณ์
            ของตนเองในลักษณะชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม และชนพื้นเมือง
            ปรากฏตัวมากกว่า ๕๖ กลุ่ม อาศัยอยู่ในประเทศไทย                                                         บทที่
                                                                                                                   ๕
            มานานหลายชั่วอายุคน แต่ยังประสบปัญหาสถานะบุคคล
            ทางกฎหมาย การไร้รัฐ และการไร้สัญชาติ โดยมีสาเหตุ
            หลักมาจากข้อจ�ากัดจากกฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติ และสิทธิ
            ในความเป็นพลเมืองของรัฐไทย ท�าให้ไม่สามารถเข้าถึง

            สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน หรือการพัฒนาต่าง ๆ ได้


            ๒๙๔  ในส่วนนี้ เป็นการด�าเนินการร่วมกันระหว่าง กสม. โดยคณะอนุกรรมการด้านสิทธิและสถานะ กลุ่มชาติพันธุ์ และชนเผ่าพื้นเมือง และคณะอนุกรรมด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร
                คณะอนุกรรมการทั้ง ๒ ชุด มีนางเตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นประธานอนุกรรมการ และส�านักงาน กสม. โดยคณะท�างานพัฒนาระบบการติดตามและประเมิน
                สถานการณ์สิทธิมนุษยชน ผ่านกิจกรรมหลัก ๆ คือ การสร้างความร่วมมือกับองค์กรชุมชน และภาคประชาสังคม ภาครัฐ และภาควิชาการ ใน (๑) การตรวจสอบกรณีการจ�าหน่ายและ
                การระงับการเคลื่อนไหวรายการบุคคลทางทะเบียนราษฎรในพื้นที่ภาคเหนือ (๒) การติดตามการแก้ไขปัญหาสิทธิและสถานะ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิสูจน์และการรับรองความ
                เป็นคนไทยพลัดถิ่น (มติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕) (๓) การติดตามการแก้ไขปัญหาสิทธิและสถานะของกลุ่มชาติพันธุ์ ชนเผ่าพื้นเมืองในภาวะวิกฤต อาทิ กลุ่มมันนิ กลุ่ม
                ชาวเล (อูรักลาโว้ย มอแกร็น และมอแกลน) และกลุ่มมลาบรี พร้อมทั้งผลการด�าเนินการตามแนวนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล (มติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๓) และแนว
                นโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง (มติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๓) (๔) การติดตามผลการด�าเนินงานของรัฐบาลไทยตามมาตรฐาน ข้อตกลง และตราสารระหว่างประเทศด้าน
                สิทธิมนุษยชน และปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง (UNDRIP) และ (๕) การตรวจสอบข้อเสนอหลัก ๆ ของเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.) และ
                ส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง


                                                                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 155
   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161