Page 154 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 154

บทที่ ๕ การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
                                                                                 ของบุคคล ๖ กลุ่ม



            ที่ขึ้นทะเบียนหางานกับกรมการจัดหางาน จ�านวน ๓,๑๘๐ คน โดยได้รับบรรจุงาน จ�านวน ๒,๑๐๒ คน และมีคนพิการที่
            ขึ้นทะเบียนขอใช้สิทธิตามมาตรา ๓๕ จ�านวน  ๗,๓๗๘ คน และได้รับสิทธิ จ�านวน ๖,๙๙๔ คน โดยมีกิจกรรม อาทิ กรณี
            ให้สัมปทานตู้เครื่องดื่มอัตโนมัติในบริเวณสถานประกอบการ กรณีโรงพยาบาลจัดพื้นที่ให้คนพิการเปิดร้านขายของ กรณี
            จ้างเหมาบริการคนพิการล้างรถให้พนักงานบริษัท รวมถึงการจัดหลักสูตรฝึกการเจียระไนอัญมณี เป็นต้น  นอกจากนี้
                                                                                                  ๒๘๘
            ในปี ๒๕๖๐ กรมการจัดหางานได้เสนอโครงการจัดตั้งศูนย์แนะแนวและพัฒนาศักยภาพการท�างานของคนพิการในประเทศไทย
            (Job Coach Thailand Center) โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ


                  บริการสาธารณสุขของคนพิการ ที่ผ่านมานั้น

            พบความเหลื่อมล�้าระหว่างระบบประกันสุขภาพภาครัฐ
            เนื่องจากทั้งสามกองทุนมีสิทธิประโยชน์ส�าหรับคนพิการ
            ที่แตกต่างกัน  รัฐโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงด�าเนิน
                       ๒๘๙
            การบูรณาการร่วมกันในการแก้ไขปัญหาการเข้าถึง

            สิทธิประโยชน์ด้านสาธารณสุขเพื่อให้คนพิการได้รับ
            ประโยชน์สูงสุด โดยเมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๐ คสช.
            มีมติแก้ไขค�าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๕๘/๒๕๕๙ เรื่องการ
            รับบริการสาธารณสุขของคนพิการตามกฎหมายว่าด้วย

            หลักประกันสุขภาพแห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยการประกัน
            สังคม จากเดิมให้คนพิการที่เข้าระบบการจ้างงานต้องใช้สิทธิประกันสังคม แก้ไขเป็นให้สามารถเลือกได้ว่าจะใช้ระบบประกัน
            สังคมหรือระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) เพื่อตอบโจทย์ความต้องการและเป็นประโยชน์ต่อคนพิการมากที่สุด



                  การเข้าถึงสิ่งอ�านวยความสะดวกอันเป็น
            สาธารณะของคนพิการ ที่ผ่านมาพบว่าคนพิการยังมีข้อ
            จ�ากัดในการเข้าถึงสิ่งอ�านวยสะดวกอันเป็นสาธารณะ
            โดยเฉพาะคนพิการในพื้นที่ชนบท ทั้งนี้ อุปสรรคต่อ

            การพัฒนาระบบบริการภาคขนส่งและสิ่งอ�านวยความ
            สะดวกส�าหรับคนพิการ มีหลายสาเหตุ เช่น การขาด
            การบริหารจัดการ การขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะและ
            องค์ความรู้ การขาดแคลนระบบนวัตกรรม/ เทคโนโลยี                                                         บทที่
                                                                                                                   ๕
            ที่เหมาะสม เป็นต้น ซึ่งรัฐเห็นถึงความจ�าเป็นจึงให้หน่วย
            งานที่เกี่ยวข้อง  จัดท�าแผนปฏิบัติการ (Action Plan)
                         ๒๙๐
            ของยุทธศาสตร์การพัฒนาสิ่งอ�านวยความสะดวกในภาค
            ขนส่งส�าหรับคนพิการและผู้สูงอายุเพื่อใช้เป็นกรอบการด�าเนินงานของทุกภาคส่วน โดยสอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพ

            ชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ ๕ (ปี ๒๕๖๐-๒๕๖๔) ในยุทธศาสตร์ที่ ๔ สร้างสภาพแวดล้อมและบริการสาธารณะที่ทุกคน
            เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนดังกล่าวเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น






            ๒๘๘  หนังสือกระทรวงแรงงาน ด่วนที่สุด ที่ รง ๐๒๐๖.๑/๓๕๐๙ ลงวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ เรื่อง ขอส่งข้อมูลเพื่อประกอบการจัดท�ารายงานการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
                ของประเทศไทยประจ�าปี ๒๕๖๐ (มกราคม – กันยายน ๒๕๖๐)
            ๒๘๙  กระทรวงสาธารณสุข โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) วิจัยโครงการ “การทบทวนชุดสิทธิประโยชน์และการเข้าถึงบริการอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ”
            ๒๙๐  กระทรวงคมนาคมร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์


                                                                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 153
   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159