Page 153 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 153

การศึกษาของคนพิการ ในปี ๒๕๖๐ มีการขับเคลื่อนนโยบายการบริหารจัดการเรียนรวมให้มีคุณภาพสู่แนวปฏิบัติ
           ที่เป็นรูปธรรมที่มีความชัดเจน โดยเฉพาะการสนับสนุนให้เกิดการจัดการศึกษาในรูปแบบการเรียนรวมอย่างมีประสิทธิภาพ
           โดยให้ความส�าคัญในการจัดการศึกษาส�าหรับเด็กที่มีความต้องการจ�าเป็นพิเศษตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการตลอดชีวิต
           ให้เข้าถึงโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง อย่างมีคุณภาพ และเสมอภาค เพื่อลดความเลื่อมล�้าทางการศึกษา โดยมีโรงเรียน

           ต้นแบบการเรียนรวม จ�านวน ๑,๒๒๘ โรงเรียน ได้รับการพัฒนาให้เป็นหน่วยบริการ สนับสนุนและช่วยเหลือส�าหรับนักเรียน
           พิการเรียนรวมและเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับโรงเรียนใกล้เคียงที่รับเด็กพิการเข้าเรียน นอกจากนี้ การจัดการด้านอาชีวศึกษา
           เพื่อคนพิการ มีศูนย์อาชีวศึกษาเพื่อคนพิการ จ�านวน ๗ แห่ง โดยมุ่งพัฒนาและฝึกทักษะคนพิการให้มีความรู้ความสามารถ
           ตามศักยภาพและสามารถท�างานมีอาชีพเลี้ยงดูตนเองได้ ส�าหรับในระดับอุดมศึกษา ได้ก�าหนดนโยบาย และมาตรการ

           จัดการศึกษาส�าหรับคนพิการหรือผู้ที่มีความจ�าเป็นพิเศษในระดับอุดมศึกษา รวมถึงสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาจัดตั้ง
           ศูนย์บริการนักศึกษาพิการ (Disability Support Service Center : DSS Center) หรือจัดให้มีหน่วยงานบริการนักศึกษา
           พิการในสถาบัน ซึ่งปัจจุบันมีสถาบันอุดมศึกษาได้จัดให้มี DSS Center แล้วกว่า ๓๘ แห่ง
                อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลพบว่าคนพิการที่มีอายุถึงเกณฑ์แต่ไม่ได้รับการศึกษามีจ�านวนถึง ๓๒๔,๓๕๔ คน ส�าหรับ

           คนพิการที่ได้รับการศึกษา จ�านวน ๑,๒๑๑,๙๔๓ คน ส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับประถมศึกษา จ�านวน ๑,๐๐๒,๗๗๓ คน
           (ร้อยละ ๕๕.๔๕) ๒๘๕


                การจ้างงานคนพิการ ปัจจุบันรัฐโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนให้มีการส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ ตาม

           มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และ
           ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖  ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการด�าเนินการ อาทิ การตรวจคุ้มครองแรงงาน
                                             ๒๘๖
           คนพิการ และการด�าเนินการตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี กล่าวคือ ด้านสังคม  ให้กระทรวงแรงงานติดตามตรวจสอบ
           การจ้างงานคนพิการให้มีการด�าเนินการที่ถูกต้อง เพื่อให้คนพิการได้เข้าท�างานจริงในสถานประกอบการ รวมถึงเปิดโอกาสให้

           คนพิการได้รับการพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพ ซึ่งจากข้อมูลพบว่าในปัจจุบันมีคนพิการที่อยู่
           ในวัยท�างาน จ�านวน ๘๑๙,๕๕๐ คน โดยมีจ�านวนคนพิการในวัยท�างานที่สามารถประกอบอาชีพได้แต่ยังไม่ได้ประกอบ
           อาชีพ จ�านวน ๓๓๐,๓๓๙ คน  และจากสถิติดังกล่าวส่งผลให้รัฐมีมาตรการปรับแก้ไขกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ
                                     ๒๘๗
           ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและตอบสนองความต้องการของคนพิการที่อยู่ในวัยท�างานและผู้ดูแลคนพิการให้

           สามารถเข้าถึงสิทธิแทนคนพิการได้มากยิ่งขึ้น รวมถึงให้นายจ้างและสถานประกอบการมีทางเลือกได้หลากหลายเพื่อ
           กระตุ้นให้เกิดการส่งเสริมให้คนพิการมีงานท�า มีอาชีพ มีรายได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้ด�าเนินการให้มีการ
           ขึ้นทะเบียนคนพิการที่ประสงค์จะท�างานกับนายจ้าง และประสานสถานประกอบการเพื่อรับแจ้งต�าแหน่งงานว่าง รวม
           ถึงจัดส่งคนพิการเข้าสัมภาษณ์งานกับนายจ้าง ตลอดจนติดตามและประเมินผลการบรรจุงาน ซึ่งในปี ๒๕๖๐ มีคนพิการ


           ๒๘๕  รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ข้อมูลสิ้นสุด ณ วันที่ ๑๕ กันยายน
              ๒๕๖๐ (สืบค้นวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๖๑)
           ๒๘๖  มาตรา ๓๓ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐรับคนพิการเข้าท�างานตามลักษณะ ของงาน
              ในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการหรือหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงก�าหนดจ�านวนที่นายจ้างหรือเจ้าของสถาน
              ประกอบการ และหน่วยงานของรัฐจะต้องรับคนพิการเข้าท�างาน
              มาตรา ๓๔ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่มิได้รับคนพิการเข้าท�างาน ตามจ�านวนที่ก�าหนดตามมาตรา ๓๓ ให้ส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา ๒๔ (๕) ทั้งนี้ให้รัฐมนตรีว่าการ
              กระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงก�าหนดจ�านวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องน�าส่งเข้ากองทุน
              นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนตามวรรคหนึ่ง แต่มิได้ส่ง ส่งล่าช้าหรือส่งเงินไม่ครบถ้วน ให้เสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจ�านวนเงิน ที่ยังไม่
              ได้ส่งเข้ากองทุน
              นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการซึ่งรับคนพิการเข้าท�างานหรือส่งเงินเข้ากองทุนตามวรรคหนึ่งมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเป็นร้อยละของจ�านวนเงินค่าจ้างที่จ่ายให้แก่คนพิการ หรือเงิน
              ที่ส่งเข้ากองทุน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ตามที่กฎหมายก�าหนด
              มาตรา ๓๕ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะรับคนพิการเข้าท�างานตาม มาตรา ๓๓ หรือนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการไม่รับคนพิการเข้าท�างานตามมาตรา ๓๓ และ
              ไม่ประสงค์จะส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา ๓๔ หน่วยงานของรัฐ นายจ้างหรือเจ้าของสถาน ประกอบการนั้นอาจให้สัมปทานจัดสถานที่จ�าหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงานหรือ
              จ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอ�านวยความสะดวก ล่ามภาษามือ หรือให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์
              วิธีการและ เงื่อนไขที่คณะกรรมการก�าหนดในระเบียบ
           ๒๘๗  รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ข้อมูลสิ้นสุด ณ วันที่ ๑๕ กันยายน
              ๒๕๖๐ (สืบค้นวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๖๑)

           152 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158