Page 152 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 152
บทที่ ๕ การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
ของบุคคล ๖ กลุ่ม
๕.๕ สิทธิคนพิการ
ภาพรวม
รัฐบาลโดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีหน้าที่
หลักในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในประเทศไทย โดยคนพิการเป็นกลุ่ม
เป้าหมายที่รัฐให้ความส�าคัญในการเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพ ให้องค์ความรู้ รวมถึงสร้างความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล�้า
เพื่อให้คนพิการด�ารงชีวิตอย่างอิสระในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี และมีความภาคภูมิใจในตนเอง
ส�าหรับด้านกฎหมาย นโยบาย และสนธิสัญญาหลัก
ด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับคนพิการในช่วงที่ผ่านมา
มีความก้าวหน้า ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่อพิธีสาร
เลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (OP- CRPD) ยอมรับ
อ�านาจของคณะกรรมการประจ�าอนุสัญญา CRPD ในการ
พิจารณาเรื่องร้องเรียนซึ่งมีผลใช้บังคับกับประเทศไทยนับ
ตั้งแต่วันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๙ เป็นต้นมา นอกจากนี้ บทที่
๒๘๔
๕
ยังมีการจัดท�าแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
ฉบับที่ ๕ (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔) เพื่อสนับสนุนเสริมพลัง
คนพิการและองค์กรคนพิการให้มีศักยภาพ ขจัดการเลือก
ปฏิบัติเพื่อให้คนพิการเข้าถึงสิทธิได้จริง รวมถึงเสริมสร้างความเข้าใจและเจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อคนพิการ ขับเคลื่อนการ
สร้างสภาพแวดล้อมและบริการสาธารณะที่ทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ตลอดจนส่งเสริมการบูรณาการเครือข่ายและ
การมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการอย่างยั่งยืน ซึ่งแผนดังกล่าวสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๖๐ อนุสัญญา CRPD กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี รวมถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔)
๒๘๔ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๙ มีมติให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีและให้สัตยาบันต่อ OP-CRPD ซึ่งมีสาระส�าคัญที่คนพิการหรือองค์กรคนพิการสามารถร้องเรียนหากถูก
ละเมิดสิทธิตามที่บทบัญญัติในอนุสัญญา CRPD ให้การรับรองไว้สามารถเสนอเรื่องไปยังคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิคนพิการได้โดยตรง และต่อมา ประเทศไทยได้ยื่นภาคยานุวัติสารต่อ
สหประชาชาติเพื่อเข้าเป็นภาคี OP- CRPD
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 151