Page 145 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 145

“บุคคลรักเพศเดียวกัน” กับการปฏิบัติตามความเชื่อทางศาสนา ทั้งในกรณีของการบวชเป็นภิกษุ หรือภิกษุณี โดยสังคม
           ไทยให้การยอมรับได้ในกรณีที่บุคคลนั้น ๆ จะต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
                นอกจากนี้ การศึกษาวิจัยเรื่อง “ความหลากหลายทางเพศในแบบเรียนไทย : บทวิเคราะห์แบบเรียนสุขศึกษาระดับ
           มัธยมศึกษาตอนต้น” พบว่า หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษา

           ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ยังมีเนื้อหาที่เต็มไปด้วยอคติทางเพศ และอคติในเรื่องความหลากหลายทางเพศ อาทิ
           (๑) การสร้างความเข้าใจว่า ประชากรในโลกนี้มีสองเพศ คือ หญิงและชาย ซึ่งถือเป็นสิ่งตามธรรมชาติ (๒) การขาดการสร้าง
           ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าและความหมายที่แท้จริงของค�าว่า “ความเสมอภาค หรือความเท่าเทียมระหว่างเพศ” ในขณะที่
           เน้นย�้าการควบคุมพฤติกรรม และการวางตัวตามเพศก�าเนิดเท่านั้น ซึ่งกลายเป็นการสร้างแบบพิมพ์ความเป็นหญิงและ

           ความเป็นชายแบบตายตัว และ (๓) การก�าหนดให้บุคคลที่รักเพศเดียวกัน หรือการแสดงออก (กิริยาท่าทาง การแต่งกาย)
           ที่ไม่ตรงกับเพศก�าเนิด (อาทิ คนข้ามเพศ) เป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ และจัดให้เป็นกลุ่มเดียวกับพฤติกรรมเบี่ยงเบน
           ทางเพศอื่น ๆ เช่น ชอบแสดงอวัยวะเพศในพื้นที่สาธารณะ หรือชอบใช้ความรุนแรงทางเพศ ดั้งนั้น จึงเสนอให้ส�านักงาน
           วิชาการและมาตรฐานการศึกษา (สวก.) และส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ

           พิจารณาปรับปรุงแบบเรียนดังกล่าวให้สอดคล้องกับคุณค่า และความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น































           การประเมินสถานการณ์ ปัญหา และอุปสรรค



                กสม. เห็นว่า การด�าเนินการที่ผ่านมา รัฐบาลได้พยายามส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลาย
           ทางเพศ หรือบุคคลที่มีการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยก�าเนิด โดยการบรรจุนิยามความหมายไว้ในพระราชบัญญัติ
           ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘  เพื่อคุ้มครองบุคคลดังกล่าวจากการถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งความแตกต่าง
                                           ๒๕๔
           ทางเพศ เพศภาวะ หรือเพศวิถี อย่างไรก็ตาม บุคคลเหล่านี้ยังเผชิญปัญหาเกี่ยวกับอคติของสังคมที่ประกอบสร้าง ลดทอน
           คุณค่าความเป็นมนุษย์ ตีตราและตอกย�้าบทบาทที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวังของสังคม  ผ่านการกล่อมเกลาในครอบครัว
                                                                                ๒๕๕
           การเรียนการสอน และสื่อ ด้วยระบบคิดและความเชื่อต่าง ๆ เป็นผลให้ถูกเลือกปฏิบัติอย่างเป็นระบบทั้งโดยรัฐและเอกชน





           ๒๕๔  มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘
           ๒๕๕  เช่น หลักสูตรแกนกลางของส�านักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ยังระบุว่าบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นความผิดปกติทางจิต บัญชีจ�าแนกโรคสากลขององค์กรอนามัยโลกที่ยังระบุ
              ว่าคนข้ามเพศเป็นภาวะผิดปกติและต้องการการบ�าบัดรักษา สภากาชาดระบุว่าบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นกลุ่มเสี่ยงของเอชไอวี เป็นต้น


           144 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150