Page 146 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 146
บทที่ ๕ การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
ของบุคคล ๖ กลุ่ม
ท�าให้ไม่ได้รับสวัสดิการที่เหมาะสมจากรัฐ ไม่มีกฎหมายรับรองสถานะทางเพศ บุคคลข้ามเพศที่ต้องขังยังคงไม่ได้รับ
๒๕๖
การปฏิบัติที่เหมาะสมและเสี่ยงต่อการถูกละเมิดทางเพศ และถูกท�าร้ายร่างกายในเรือนจ�า และไม่สามารถรับยาเพื่อรักษา
ระดับฮอร์โมนในร่างกายเนื่องจากมีระเบียบห้ามน�ายาเข้าเรือนจ�า
แม้ว่า รัฐบาลจะพยายามพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสมรสของคนรักเพศเดียวกัน แต่ร่างกฎหมาย
๒๕๗
ยังขาดความเข้าใจในปัญหาและอุปสรรคของบุคคลกลุ่มนี้ที่แตกต่างจากคนรักต่างเพศ ขาดข้อมูลที่รอบด้าน ขาดการมี
ส่วนร่วมอย่างแท้จริงจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย ซึ่งอาจเป็นผลให้บุคคลกลุ่มนี้ยังถูกเลือกปฏิบัติ เช่น ไม่สามารถ
รับบุตรบุญธรรมเฉกเช่นคู่รักต่างเพศได้ ซึ่งเป็นการขัดกับหลักการและเจตนารมณ์ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ข้อเสนอแนะ
รัฐควรพิจารณาทบทวนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ รวมทั้งนโยบาย และแนว
ปฏิบัติมิให้มีการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ เพศภาวะ และเพศวิถี เพื่อให้บุคคลดังกล่าวได้รับการคุ้มครอง สามารถเข้าถึง
สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน รวมทั้งสวัสดิการอย่างเป็นธรรม อาทิ
• การเร่งด�าเนินการให้คณะกรรมการชุดต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.
๒๕๕๘ สามารถปฏิบัติตามอ�านาจหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
ซึ่งเป็นกลไกหลักในการบูรณาการมิติความเท่าเทียมระหว่างเพศไปสู่กระทรวงและกลไกที่เกี่ยวข้องของรัฐ และต้องจัดสรร
งบประมาณที่เพียงพอให้กองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
• การแก้ไขกฎหมายโดยยกเลิกข้อยกเว้นการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลตามหลักการทางศาสนาหรือเพื่อความมั่นคง
ของประเทศ ตามมาตรา ๑๗ และเพิ่มค�านิยามของ เพศ เพศภาวะ เพศวิถี ความรุนแรงเพราะเหตุแห่งเพศ การคุกคาม
ทางเพศ เพื่อให้ผู้บังคับใช้กฎหมายทุกระดับทั่วประเทศมีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมี
ประสิทธิผล
• การพิจารณาแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมวด ๒ เงื่อนไขแห่งการสมรส มาตรา ๑๔๔๘ โดย
๒๕๘
ก�าหนดให้บุคคลที่ผู้ที่สมรสกันได้นั้น คือ บุคคลใด ๆ ไม่จ�ากัดเฉพาะชาย หรือหญิง เท่านั้น รวมถึงการพิจารณาตรากฎหมาย
ที่เกี่ยวข้องกับการสมรสของคนรักเพศเดียวกันเพื่อรับรองสิทธิในการก่อตั้งครอบครัว ซึ่งจะช่วยคุ้มครองสิทธิของคู่ชีวิต
ในด้านต่าง ๆ อาทิ การลงลายมือชื่อแสดงความยินยอมในการรักษาพยาบาลในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือเร่งด่วน การกู้ยืม
สินเชื่อเพื่อการซื้อหรือพัฒนาที่อยู่อาศัย ตลอดจนสิทธิในการถือครอง หรือการแบ่งมรดกทรัพย์สิน เป็นต้น
บทที่
๕
๒๕๖ โครงการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศเพื่อจัดท�าร่างกฎหมายว่าด้วยการรับรองเพศ”จัดโดย กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการ
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ร่วมกับ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันพุธที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๙ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่กล่าวถึงกฎหมายรับรองสถานะ
ทางเพศ จะต้องมีการผ่าตัดแปลงเพศก่อน เว้นแต่บุคคลนั้นมีข้อจ�ากัดทางศาสนา เศรษฐกิจ และสุขภาพ
๒๕๗ ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต ร่วมด�าเนินการจัดท�าโดยกรมคุ้มครองสิทธิฯ กระทรวงยุติธรรม และร่างฯ ที่จัดท�าโดยคณะกรรมาธิการยุติธรรมฯ ปี ๒๕๕๖
๒๕๘ ชวินโรจน์ ธีรพัชรพร, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง “สิทธิความเสมอภาคในการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย” สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 145